วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หันหน้าเข้าหากัน

โจทย์จากพัฒนาการในการหาปัจจัยนำเข้าสร้างสรรค์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร
อิ่ง ซ้อเจ็ดให้คำถามว่าปี ๒๕๕๕ เราจะนำพาพวกเราได้เรียนรู้จากภายนอกด้วยเรื่องอันใดี
ตุ๊ดตู่ ร่าเริงได้คำนึงถึงสิ่งที่เราทุกวันนี้ทำกันอยู่หากเราเพียงแต่ปรารถนาดีต้วยการหันหน้าเข้าหากัน ทุกสิ่งจะดีขึ้นมาก จึงนำเสนอ หัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเมื่อเปิด KM Blog รวฟ. ได้นำเสนอไว้เป็นเรื่องแรกๆ ทีเดียว
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดที่นำเสนอ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการ หันหน้าเข้าหากัน
หลักการและเหตุผล
ชีวิตคือการทดลองและสังเกตุ เราเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติด้วยวิธีนี้ เมื่อเด็กเราร้องแหกปากตะโกนเพื่อดูว่ามีใครสนใจเราบ้าง เราทดลองเรียกแม่ ครั้งแรกของการเปล่งคำเพื่อสนองความภาคพูมใจของแม่ และเราทดลองและสังเกตุการตอบสนองเราทดลองต่อ และเราละเลยสิ่งที่ไม่ตอบสนองเราปฏิเสธและละเลย เราอบอุ่นอ้างว้างแตกต่างกัน มีความสมหวังและเจ็บช้ำต่างกัน แล้วสร้างสิ่งยึดถือในใจมากำกับใจเราจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
เราแหกปากครั้่งแรกอย่างไม่มีเจตจำนง(หมอตีตูดให้ร้อง) แต่เราแหกปากครั้งต่อมาเพื่อบางสิ่งบางอย่าง คนที่ชอบหันหน้ามาหาเรา คนไม่ชอบหันหลังให้กับเรา เราทดลองและสังเกตุ เรียนรู้จดจำนำไปทำต่อ บางครั้้งบางคราวไม่เป็นตามความทรงจำแห่งอนาคตที่เห็น  ความเป็นจริงดูโหดร้ายมากแต่เราไม่แหกปากแล้ว กรอบบางอย่างกดทับเรากลับมาอยู่ในตัวเราหันหลังให้กับสิ่งภายนอก หันหลังให้กับทุกเหตุผล ความเรา ไม่ีใครเหมือนฉัน(กู) ตัวฉัน(กู)จะเป็นอย่างนี้แหละ ใคร(มึง)จะทำไม ฉัน(กู)ไม่แคร์ เราจึงไม่หันหน้าเข้าหาใคร แม้นาย ฉัน(กู)ก็ไม่แคร์(มึง)
สภาพการทำงานที่ผ่านมาก็เช่นเดียวกัน จากการทดลองและเรียนรู้ ก่อตัวตน กรอบขึ้นมา ฝังแน่น ยาวนาน สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผลเราจึงไม่นำมาทำอีกเป็นสิ่งที่ทิ้งไป หากชีวิตคือพัฒนาการ เราไม่สามารถพัฒนาให้ถึงขึดสุดของชีวิตได้อย่างที่ควรเป็นหรือไม่ ด้วยกรอบและการแปลกแยก ด้วยเทคโนโลยีที่แยกเราออกจากคนใกล้และเชื่อมคนไกล บางครั้งเราพัฒนาไม่ได้ เรากันตัวเราออกจากสิ่งจำเป็นและเชื่อมต่อกับสิ่งไม่จำเป็นมากเกินไป เพื่อสนองต่อความสงบ ไม่เบียดเบียนในสังคมปัจจุบัน
วันนี้เราคงต้องมาทบทวนบ้างว่า เรา(กู)จะอยู่โดดเดียวบนสังคมซับซ้อนได้อย่างไร ถ้าฉัน(กู)ไม่สนใจใคร ไม่เคยสนว่าเธอ(มึง)จะเดือดร้อนอะไร ตราบใดที่ฉัน(กู)จะอยู่คนเดียว(ตัวกูผู้เดียวจะสู้ตาย)คงมีข้อจำกัดมาก แต่สนองมานะคือตัวกูได้อย่างดี
เมื่อเห็นว่าอยู่คนเดียวดีกว่าคงไม่ต้องหันหน้าเข้าหาใครนอกจากกระจกเพื่อดูว่าฉัน(กู)ยังดูดีอยู่ หากไม่คงต้องหันหน้าเข้าหากันบ้าง
การหันหน้าเข้าหากันจะสนองต่อความจริงที่ว่าหากเราจะอยู่นิรันดร์ได้ เราต้องมีข่ายใยที่สอดประสาน สืบทอด ส่งต่อ และสร้างสรรค์
ทุกวันนี้องค์กรเรามีผู้เข้ามาใหม่มาก ผู้อยู่มาก่อนจะจากไปตามวาระ เร็วกว่าการทดแทน ทดแทนได้เพียงจำนวน แต่ความสามารถที่ต้องอาศัยเวลานั้นทดแทนได้ยากกว่า การสืบต่อ(สันคติ)และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ) คือแนวทางที่จะต้องดำเนินไป เป็นคำตอบขององค์กร
การสืบต่อ(สันคติ)คือการต่อเนื่อง มองไม่เห็นการขาดช่วง สืบต่ออย่างไม่ขาดตอนเสมือนเปลวเทียนที่แสงนั้นเป็นแสงที่เกิดจากการลามไหม้ของใส้เทียน แสงนั้นดูเหมือนจะไม่ขาดตอนต่อเนื่องแต่ความเป็นจริงมีเกิดดับเป็นระยะ
การยังความสามารถให้เต็ม(ดัดแปลงจากผู้ยังความฝันให้เต็ม : ปุตตะ) เป็นผู้ที่สืบต่อปณิธานที่ต้องการ ชีวิตคนเราสั้นนักยากจะทำอะไรให้สำเร็จได้ในช่วงชีวิตหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จต้องมีผู้มุ่งมั่นเข้าใจมาทำต่อความสามารถนั้น ลอกเรียน เรียนรู้ เรียนลัดเพื่อยังให้ความสามารถในการดำเนินการคงอยู่ได้อย่างต่อเนืิ่องยาวนานเสมือนนิรันดร์
ทั้งการสืบต่อ(สันคติ) และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ) ต้องอาศัยการนำของรุ่นต่อรุ่น การสืบต่อ(สันคติ) และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ)ต้องอาศัยความเป็นจริงที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างกลมกลืนไม่ขัดเขิน องค์กรออกแบบสิ่งต่างๆ เหล่านี้ผ่าน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ดูความก้าวหน้าจากการปรับเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ และการนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อถกแถลงมากมายท่ามกลางสภาพที่กรอบของแต่ละคน(กู)แต่ละงาน(กู)เพิ่มขึ้น ทิษฐิ มานะ พอกพูน เพิ่มทับ ศักยภาพคนไม่เบ่งบาน ศักยภาพองค์กรไม่พัฒนา
การ หันหน้าเข้าหากัน จึงเป็นแนวทางที่บ่งว่า เราได้ตระหนักรู้ในตนที่จะมุ่งบนข่ายใยความสัมพันธ์กับทุกคนและทุกสรรพสิ่ง เห็นว่าต้องมีการสืบต่อ(สันคติ)และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ) โดยแบ่งปัน ถักทอ ปลูกฝัง บ่มเพาะ เพื่อความยั่งยืน (ยั่งยืนของผมคือ สันคติ หากมีข้อเสนอแนะ โปรดส่งมายัง Siriwatana.K@egat.co.th หวังในความกรุณาครับ)
วัตถุประสงค์
เพื่ีอให้คน กฟผ. หันหน้าเข้ามาพูดจากันบนพื้นฐานความเป็นมนุษย์ : รักและเข้าใจกันอย่างปราศจากเงื่อนไข เพื่อการสืบต่อ(สันคติ)และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ) ของ กฟผ. เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ไปยังรุ่นต่อๆ ไป บนพื้นฐานความคิด เครือข่าย(สมุหะ)จะสร้างพลังมากคนเดียว(ปัจเจก)จะทำได้ เครือข่ายที่สามัคคี สอดคล้อง ไปด้วยกัน สร้างพลังสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เครือข่าย(สมุหะ)มาจากคนเดียว(ปัจเจก)ที่รวมกัน ดังนั้นคนเดียว(ปัจเจก)คือตัวกำหนดเครือข่าย(สมุหะ) คน กฟผ. ต้องเข้าใจตน เริ่มจากตนเพื่อเข้าใจสรรพสิ่ง
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ทุกระดับ ที่ต้องการเข้าอบรม (รวมทั้งพวกต้องการลองของใหม่ด้วย)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
คน กฟผ. จะสนทนาอย่างสร้างสรรค์ พบแนวทางสร้างการสืบต่อ(สันคติ)และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ)
วิทยากรได้รับประสบการณ์เพิ่ม
แนวทางดำเนินการ
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สี่วันสามคืน
สี่ช่วงการหันหน้าเข้าหากันประกอบด้วย
ตระหนักรู้ในตน คือ รู้ตน สังเกตุ เรียนรู้ เข้าใจ
มุ่งบนความสัมพันธ์ คือ รู้จุดมุ่งหมาย การสืบต่อ(สันคติ)และการยังความสามารถให้เต็ม(ปุตตะ)
แบ่งปันและถักทอ คือ รู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฟังอย่างไรให้ได้ยิน สร้างอย่างไรให้ สืบต่อ
ต่อเนื่องดำรงนิรันดร์ คือ รู้การหันหน้าเข้าหาสรรพสิ่ง เรียนรู้อะไรจากชีวิตและการงาน
กิจกรรม การบรรยาย สนทนา จดบันทึกการสังเกตุ
กิจกรรมวันแรก
Check In
เกริ่นนำ เครื่องมือ ... ใส่ U Theory และ Dialogue...
หันข้างสนทนา เล่าเรื่องวัยเยาว์ (สองคน) สามนาที สรุปความรู้สึก
ใส่ สี่ทิศ
สนทนาสี่ทิศ (กลุ่ม)
สนทนาความสำเร็จครั้งแรกของชีวิต (กลุ่มเดิม ตามด้วยการสังเกตุ พวกเดียวกันความสำเร็จเหมือนกันไหม เป็นการเข้าใจตนเอง และพวกเดียวกัน -ปัจเจก สู่ สมุหะ)
ใส่ กติกาการหันหน้าเข้าหากัน
สนทนา การหันหน้าเข้าหากัน
ใส่ การบ้าน การจดบันทึก
กิจกรรมวันที่สอง
ทบทวน แถลงบันทึก
ใส่ ศักดิ์ของเรา
สนทนา ศักดิ์ของเรา
ใส่ ผู้เติบโตแล้ว
สนทนาผู้เติบโตแล้ว
ใส่ พลังแห่งการเคลื่อนไป
สนทนา ความเครียด การผ่อนคลาย การเรียนรู้ ใน ชีวิต งาน และการซ่อมสร้าง
กิจกรรมวันที่สาม
ใส่ สมอง หัวใจ และกาย
สนทนา สมอง หัวใจ และกายที่รับรู้
ใส่ รวมเป็นหนึ่งกับหัวใจ
สนทนา ฝึกการรวมเป็นหนึ่งกับหัวใจ
ทบทวน U Theory Dialogue
สนทนา สอบทวน U Theory Dialogue
กิจกรรมวันที่สี่
ใส่ ถอดบทเรียน
สนทนา บทเรียนรู้
ใส่ ความทรงจำแห่งอนาคต
สนทนา ความทรงจำแห่งอนาคต
ใส่ เจตจำนงแห่งจักรวาล
สนทนา เจตจำนงของตน
สรุป โดยผู้เข้าอบรมและวิทยากร
Check Out
จบกิจกรรม