วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ยึดถือ



ผมได้รับบทความจากเพื่อน เกี่ยวกับเรื่องความเห็นของบุคคลสองคน อันเนื่องมาจากการแสดงความเห็นของ คน ต่อ คน คนหนึ่งคิด อีกคนหนึ่งคิด เป็นที่น่าสนใจว่าคิดเรื่องเดียวกันบนสิ่งยึดถือที่ต่างกัน แต่บ่งชี้ว่าเป็นไปเพื่อสิ่งเดียวกัน ยังไม่เห็นผลเปลี่ยนแปลง ...
(ประเวศ วะสี: นิเวศทางปัญญา​ของมหาชน ยุทธศาสตร์​ทางปัญญาพาชาติออกจากวิกฤต 14 Aug 2019 - กองบรรณาธิการ และ สุรพศ ทวีศักดิ์: ประเวศ วะสี กับการไม่พูดถึงเสรีภาพ ประชาไท / บทความ on Thu, 2019-08-15 15:03 )
ผมไม่ค่อยได้อ่านบทความ หรือรายงานใดๆ อย่างจริงจังมานานแล้ว มันเบื่อหน่ายเรื่องต่างๆ ไปหมด รู้สึกสิ้นหวังและไม่มีกำลัง อยู่อย่างเงียบงันภายใต้อำนาจที่กดทับเสียงอันเปล่งออกไม่ได้ แต่ความคิดดังก้องอยู่ข้างใน จึงไม่อยากรับรู้เรื่องราว หรือคิด รวมทั้งการแสดงออกต่อสิ่งที่เกิดขึ้น หมดไฟไปนานแล้ว
แต่มาสะดุดกับ ประเวศ วะสี และสุรพศ ทวีศักดิ์ แวบแรกนั้นรู้สึกว่าคนที่ยึดถือคนละอย่างต่างแสดงทัศนะในเรื่องที่ต้องให้เป็นไปเป็นเรื่องทางวิชาการที่จะขับเคลื่อนสังคม สังคมที่ฟังแล้วเอาไปคิดแล้วทำ สังคมเป็นคนรับไป รับกรรมที่เกิดแล้วและรับกรรมที่ทำหรือไม่ทำต่อไป
เมื่ออ่านรายงานใน WAY แค่โปรยแรกก็กระอักแล้ว (ทัศนะของผมต่อไปนี้เป็นความรู้สึกเมื่ออ่าน)

"อุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ประเทศไทยติดขัดและวิกฤต คือ
การที่ประเทศเต็มไปด้วยโครงสร้างอำนาจ แต่ขาดโครงสร้างทางสมอง หรือโครงสร้างทางปัญญาที่พอเพียง ถึงจะพัฒนาด้านอื่นๆ เท่าใด ก็จะออกจากวิกฤตไม่ได้ ถ้าไม่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางปัญญา"

อยากจะบอกประเวศว่า ปัญญาน่ะมี มีมาก มีหลายหลากด้วยแต่ แ...ง แสดงออกในประเทศนี้ได้ยาก มันไม่มีที่ทางให้ปัญญาเล็กน้อยได้แสดงออก ปัญญาใหญ่ๆ ก็ไม่สามารถเขยื้อนภูเขาได้ ประชาชนเป็นคน ไม่ใช่เป็นเพียงพลเมืองที่มีกัมม์ ไอ้การเอาศาสนา เอาความดี เอาการหลีกลี้ มาดัดแปลงแต่งตัวแล้วคิดว่าบรรลุนั้นมันขับเคลื่อนสังคมไม่ไป นั่งหลับตาขัดขาภาวนาต่อไป ห่างไกลจากประชาที่เป็นคน เป็นมนุษย์
สงสารตัวเองที่เมื่อกลับมาอ่านดันเริ่มอ่านจากสิ่งที่ไม่ขับเคลื่อนการยึดถือให้พัฒนา
ตัวอย่างที่เป็นจริงของ กลุ่มเรียนรู้ขนาดเล็ก คือการพาไป หายไป แล้วเราได้เรียนรู้ว่าการลื่นล้มทำให้สมองบวมได้ เซลล์สมองตายบวมก่อนเพราะเรียนรู้จากการปฏิบัติ ส่วนกลุ่มคลังสมองก็จะมีกลุ่มคลั่งสมองคลั่งสิ่งไร้สาระอันขับเคลื่อนไป และระบบการเรีบนรู้ทั้งสี่นั้นมุ่งเน้นสร้างทาสมากกว่าความเป็นมนุษย์ วิชาการอันไร้ความรู้สึก ... มันสันติสุขไม่ได้ด้วย (การแยกสิ่งเดียวกันเป็นสามส่วน)
"หนึ่ง – หัวใจของความเป็นมนุษย์ (Heart)
สอง – การใช้ข้อมูล ความรู้ ความคิด (Head)
สาม – การลงมือปฏิบัติและการจัดการ (Hand)"
ตราบที่ความยุติธรรมยังเป็นที่น่ากังวล และสิทธิของมนุษย์ยังไม่ได้รับ
อ่านรายงาน ประเวศ แล้วอ่านความเห็นของ สุรพศ พูดถึงสองประเด็นในเรื่องอำนาจและปัญญา แล้วสรุปลงตรงที่ อำนาจไม่ปรับปัญญาไม่เกิด ด้วยเสรีภาพอันไม่เท่าเทียมกัน
"หรือพูดอีกอย่าง ในความเป็นจริงสังคมทุกสังคมก็มีข้างมีฝ่ายที่มีความเห็นต่างทั้งนั้น หากไม่มีเสรีภาพที่เท่าเทียมในการพูด การแสดงออก การอภิปรายสาธารณะ เสรีภาพทางการเมืองและอื่นๆ คนที่คิดต่างจะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและมีศักดิ์ศรีความเป็นคนได้อย่างไร และสิ่งที่คุณหมอประเวศฝันจะเป็นจริงได้อย่างไร"

อ่านสองบทความจบก็ยังไม่เพิ่มหรือเขยื้อนความยึดถือของตัวเอง หรือแม้แต่สั่นคลอน
ผมรู้สึกว่า ย้ำ รู้สึก ...
การยึดถือนั้นประกอบสร้างสังคม การยึดถือไม่ว่าเดี่ยวหรือรวมหมู่ หากประกอบสร้างจากการแข่งขัน จะเกิดการสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งชั่วร้าย ในความเห็นต่าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายหนึ่งคือสิ่งชั่วร้ายของอีกฝ่ายหนึ่ง ในทางกลับกัน สิ่งชั่วร้ายของฝ่ายหนึ่งคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน แบ่งข้างแบ่งขั้วจึงชัดขึ้นและสังคมไม่มีที่ยืนให้คนที่ไม่ใช่ทั้งสองฝ่าย แล้วเมื่อการทำร้าย ทำลาย เกิดขึ้น ความล่มสลายก็ตามมา
หากการยึดถือนั้นประกอบด้วยความเข้าใจ เห็นใจ มีอิสระภาพ เสรี เท่าเทียม ธรรมอันยุติแล้ว สิ่งที่สร้างจะหลอมรวม
สิ่งที่ผมเห็นคือ โลกดำเนินไปต่อสู้กัน คนสองจำพวกมาเจอกัน คนที่เอาเปรียบไม่คิดชีวิต และคนที่เสียชีวิตไม่ยอมเสียเปรียบ แก่งแย่ง แข่งขัน ห้ำหั่น เฉือดเฉือน ...
ผมไม่มีทางออกให้กับสังคมนี้ ไม่มีคำแนะนำ มีแต่ความรู้สึกเช่นเดิม
เงียบไว้ เงียบ (หุบปาก)