วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระลึกถึงครู ผ่าน VDO ของ Seven Eleven และ MV ดีๆ

รวม VDO ระลึกพระคุณครู
พระคุณครูไม่มีวันเกษียณ

ครูปั้นคน 1

ครูผู้ขัดเกลา

ครูผู้สร้างคน

ครูปั้นคน 2

MV เพลงรางวัลของครู

ระลึกถึงพระคุณครูทุกคนของผม

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรรมะสานใจ : มิตรภาพ (1) สำเณาว์ จุมพุก


อาจารย์สำเณาว์ จุมพุก ใน หลักสูตรการจัดการความรู้ กฟผ.

คนนี้แหละ อาจารย์ "เนาว์ คนเหนือ"
จิตเอื้อเฟื้อ ฝากสุข ทุกท่วงท่า
แฝงความรู้ กายจิต คิดทำมา
เพื่อพร้อมพา เพื่อนสู่ เรียนรู้กัน

ที่ท้ายห้อง หูตา พาสังเกตุ
ให้มีเหตุ ต่อเชื่่อม ชักจูงฝัน
ครุ่นคิดใคร่ ครวญกิจ สารพัน
อารมณ์นั้น ลื่นใหล ใคร่เรียนรู้
หากนั่งนิ่ง จารย์เนาว์ เข้าชวนเล่น
ใคร่หัวเป็น ท่วงท่า ติดตาหู
ขยับกาย ขยายจิต เขยื้อนดู
ตบมือคู่ ก้าวเดิน เพลินวิ่งวน
มี"ปลาเก๋า" "ช้างน้อย""โป้งไอ้หยา"
มี"กิ้งก่า กายสิทธิ์" คิดฝึกฝน
มี"หนึ่งสอง สามสี่" ทำเวียนวน
เราทุกคน "อยู่ที่นี่ ก็มีสุข"
ถึงอยู่ไกล ฝากใจ ไปให้ด้วย
ยังอยากช่วย ชี้ชวน สรวลสนุก
ยังคิดถึง ตีหนึ่งสอง ไม่ยอมลุก
นังปลอบปลุก กำลังใจ ไปด้วยกัน
สมควรแล้ว กับคำ ที่ร่ำลือ
คนนับถือ ความสามารถ ผงาดสรรค์
ให้ร่าเริง เรียกพลัง ดังใจพลัน
ทุกคืนวัน เยี่ยมล้ำ 'จารย์ สำเณาว์
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง
4 ก.ค. 56

ความคิดหกด้าน

หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
ฉบับแปล โดย นุชจรีย์ ชลคุป สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ตุลาคม 2536 จำนวน 198 หน้า
เก็บความ โดย ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

มองปัญหา มองชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบใหม่ (ตอนนี้คงเก่าและเราไม่ค่อยได้เห็นคนใช้มากนัก-ผู้เก็บความ)
หนังสือมีทั้งสิ้น 47 บท ไม่รวมคำนำและบทสรุป
บทที่ 1-7 เป็นการเกริ่นนำ กล่าวถึงการคิด สมองและภาพรวมของการสวมหมวก 6 สีในการคิด
บทที่  8-13 ว่าด้วยหมวกสีขาว (นัยตาตรวจจับ-ผู้เก็บความ) ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล
บทที่ 14-20 ว่าด้วยหมวกสีแดง (สายฟ้าผ่าตรง-ผู้เก็บความ) อารมณ์และความรู้สึก
บทที่ 21-26 ว่าด้วยหมวกสีดำ (พายุดำมืด-ผู้เก็บความ) มีอะไรผิดพลาดหรือ
บทที่ 27-33 ว่าด้วยหมวกสีเหลือง (อาทิตย์เจิดจ้า-ผู้เก็บความ) การคะเนในทางบวก
บทที่ 34-41 ว่าด้วยหมวกสีเขียว (พฤกษาก่อเกิด-ผู้เก็บความ) การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ
บทที่ 42-47 ว่าด้วยหมวกสีฟ้า (ราชาสั่งการ-ผู้เก็บความ) ควบคุมการคิด


บทที่ 1-7 เกริ่นนำ (หน้า 1-30)
นึกถึงรูปปั้นนักคิด การคิดต้องไม่เคร่งเครียดจริงจัง การคิดควรกระตือรือล้นและมีชีวิตชีวาด้วยการสวมบทบาทนักคิดหกแบบนี้ หมวกคือบทบาทของคนแต่ละคนหมวกคิดก็เช่นกัน และใช้ในการคิดแบบใคร่ครวญ (Deliberate Thinking) ไม่ใช่คิดแบบรับมือ(Copying Thinking) การสวมหมวกเป็นการดึงดูดจุดสนใจ ในการเลือกที่จะสวมหมวกสีใด สีแต่ละสีไม่เกี่ยวข้องกันและ เมื่อระบายสีหนึ่งลงไปแล้วสีอื่นจะทาทับไปบนอีกสีหนึ่งจนกว่าจะครบ เมื่อมีความตั้งใจที่จะคิดแล้วต้องมีการปฏิบัติในการคิดนั้น การคิดพัฒนาได้ การตั้งใจ การฟัง และการชลอการตัดสินใจ ทำให้พัฒนาการคิดได้ และหมวกหกใบช่วยให้เป็นรูปธรรมในการคิดได้ การสวมหมวกหรือบทบาทนั้นเป็นการยุติตัวตนของเรา เหมือนเล่นละคร เมื่อสวมบทตัวตลกจงตลก ตัวตนได้รับการปกป้อง จงเล่นบทบาทนั้นๆ ให้ดีที่สุด แต่ละหมวกหรือแต่ละบทบาทมีข้อเด่นของแต่ละสีอยู่
ระบบของเหลวในสมอง และเส้นเลือดเกี่ยวพันกับความคิดของเรา สมองของเรามีกลไกเครือข่ายภายในที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เอง การคิดในแต่ละภาวะอารมณ์มีผลต่อระบบของเหลวในสมองด้วย หมวกหกใบนี้จะกระตุ้นสมดุุลของเหลว(เคมี)ในสมองไม่ให้ตกในภาวะใดภาวะหนึ่ง(เช่น ห่อเหี่ยว ดีใจมาก-ผู้เก็บความ)
คุณค่า 5 ประการ การสวมหมวกช่วยปกป้องตัวตนทำให้แสดงออกในบทบาทนั้นได้อย่างเด็มที่ การเน้นความสนใจในแต่ละด้านทำให้เราคิดอย่างใคร่ครวญไม่คิดแบบรับมือ สะดวกในการขอให้ใครต่อใครปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสดงออก สร้างสมดุลของเหลว(สารเคมี)ในสมอง และ ช่วยสร้างกฏเกณฑ์ในการคิดหลีกเลี่ยงการขัดแย้งในการคิดร่วมกัน

สีของหมวก ขาว ธรรมชาติ ความจริงและภาพที่เป็นภาววิสัย (ทัศนะคติผู้เห็นเป็นกลาง-ผู้เก็บความ) แดง ความโกรธ เดือดดาลและอารมณ์ ทัศนะคติเต็มไปด้วยอารมณ์ (ทัศนะคติผู้ถูกกระทำ-ผู้เก็บความ)ดำ มืดมนและการปฏิเสธ ทัศนะคติเชิงลบ (ทัศนะคติผู้ขัดขวางมองโลกแง่ร้าย-ผู้เก็บความ)เหลือง สว่างไสว สร้างสรรค์ ความหวัง ทัศนะคติเชิงบวก(ทัศนะคติผู้รื่นรมย์-ผู้เก็บความ) เขียว ความอุดมสมบูรณ์ความคิดริเริ่มความคิดใหม่ (ทัศนะคติผู้อยู่นอกกรอบ นอกเหตุเหนือผล -ผู้เก็บความ) ฟ้า ควบคุมและจัดระบบกระบวนคิด หมายถึงนำหมวกทุกใบมาคิดด้วย (ทัศนะคติผู้ควบคุมสั่งการ-ผู้เก็บความ)
ความเป็นคู่ ขาวกับแดง ดำกับเหลือง เขียวกับฟ้า สีสามารถใช้แทนความคิดต่างได้และทำให้ท่าที (บทบาทที่ไม่พึงประสงค์-ผู้เก็บความ)อ่อนลงในการสนทนากัน

บที่ 8-13 หมวกสีขาว ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล (หน้า 31-53)
ข้อเท็จจริงต้องปราศจากความเห็น การประเมินและตีความ ต้องมีจำนวนเหมาะสม ข้อเท็จจริงมีสองระดับ ระดับที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ระดับที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ(มาจากความเชื่อ) ข้อเท็จจริงเป็นเพียงหลักฐานที่ไม่เจือปนความคิดเห็นหรือมุ่งสนับสนุนความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มีข้อสรุปในใจ ฟังมากในการเสนอข้อเท็จจริงแบบชาวญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงแมื่อมันมากพอจะก่อตัวเป็นแผนที่ที่มีทางเดินของมันเอง วิสัยของความจริงมีหลายระดับ เช่น เป็นความจริงเสมอ มักจะจริง โดยทั่วไปแล้วจริง จริงในบางโอกาส เคยเป็นความจริง ไม่เคยเป็นความจริง ตรงกันข้ามกับความจริง การนำมาใช้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของความจริงที่ต้องการ ทั้งนี้ไม่รวมเอาสิ่งต่างๆ ที่มีคุุณค่า เช่น ลางสังหรณ์ การหยั่งรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ความคิดเห็น หมวกสีขาวให้เฉพาะข้อเท็จจริง ตัวเลข การได้มาขึ้นกับการตั้งคำถาม  ภายใต้วินัย ปราศจากอคติ

บทที่ 14-20 หมวกสีแดง อารมณ์และความรู้สึก (หน้า 54-76)
เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์และญาณหยั่งรู้ ไม่ต้องพิสูจน์หรือให้เหตุผล ตรงข้ามกับสีขาว อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการคิด เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกิดได้จากแรงกระตุ้น การเผชิญหน้าและปลดปล่อยอารมณ์ทำให้แผนที่ความคิดสมบูรณ์ขึ้น รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกี่ยวข้อง ญาณหยั่งรู้ 2 ประการ รู้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม รู้สถานการณ์โดยฉับพลัน อาจถูกหรือผิด มีแนวโนม้เป็นจริงหรือไม่เป็น เป็นการเปิดโอกาสให้ปรากฎเห็นโดยทั่วกัน การแสดงความรู้สึกภายใต้หมวกสีแดงอาจทำได้เมื่อมีความรู้สึกโดยขอเสนอภายใต้หมวกสีแดง เราไม่อาจลบล้างความรู้สึกนี้ได้แต่ปลดปล่อยได้ เพื่อจะได้เห็นมันในความคิด อย่าพยายามหาเหตุผลมาอธิบายมัน อย่าสร้างอารมณ์จงให้มันปรากฎเอง มันคือสิ่งธรรมดาสามัญ กลัว หวาดระแวง มีการตัดสินอันซับซ้อนอยู่ในอารมณ์เช่น ญาณหยั่งรู้ ลางสังหรณ์ สุนทรียอารมณ์ เป็นต้น มันมีทั้งแง่ลบและแง่บวกในตัวเอง

บทที่ 21-26 หมวกสีดำ มีอะไรผิดพลาดหรือ (หน้า 77-103)
ทัศนะในแง่ลบที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นตรรกะ กล้าแข็ง เย็นชา มืดมิด ไม่จำเป็นต้องยุติธรรม แต่มีเหตุผลที่บ่งว่าวิธีการนี้ทำไมจึงใช้ไม่ได้ เป็นความคิดวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ทะเลาะ โต้เถียง มองในแง่ของหลักฐานสนับสนุนและผลที่เกิดต่อจากการการะทำหนึ่งๆ ให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ โดยรอบ ข้อเท็จจริงต่างๆ ถูกท้าทายโดย การตั้งคำถามถึงความล้มเหลว อันตราย ความมีไม่พอ ปัญหาของศักยภาพในการทำ  ซึ่งเราต้องยอมรับมัน ตระหนักถึง เสนอทัศนะแก้ไข มองสีดำด้วยสีดำเช่นกันในแง่ของตรรกะ หรือไม่ยอมรับมันด้วยดรรกะสีดำ ทั้งนี้ไม่มีการตำหนิ โต้เถียง หรืออคติ ความรู้สึกมาเจือปนซึ่งเป็นหน้าที่ของหมวกสีแดงเท่านั้น เป็นการคาดการณ์ไปในอนาคต มุ่งหาข้อบกพร่อง ในกรณีของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ควรใช้หลังหมวกสีเหลือง เพื่อปิดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

บทที่ 27-33 หมวกสีเหลือง การคะเนในทางบวก (หน้า 104-127)
สดใส สว่างไสว มองโลกในแง่ดี ตรงกันข้ามกับสีดำ สนใจในแง่บวก มุ่งประโยชน์ คิดสร้างสรรค์(constructive thinking : ความคิดที่ไม่ทำร้ายใคร)ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เป็นความกระหายใคร่รู้ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ในสิ่งรอบด้าน ขอบเขตของความคิดเชิงบวกนั้นมีตั้้งแต่สุดขั้วเป็นความใฝ่ฝัน ถึงความน่าเชื่อถือเป็นไปได้ หากน่าเชื่อถือมากจะมีความก้าวหน้าในการคิดและการเปลี่ยนแปลงน้อย หากสุดขั้วจะมีความก้าวหน้ามากกว่า ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนหากไม่มีเป็น สีแดง ในแง่ความรู้สึกดีๆเท่านั้น ดังน้้นสีเหลืองนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเต็มที่ มันทำหน้าที่ จุดประกาย ให้ข้อเสนอและประเมินทางบวก หรืออาจเป็นการต่อยอดข้อเสนอ และนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม เป็นการคาดการณ์เชิงบวกบนสถานการณ์ที่ต้องการให้เกิดเกี่ยวพันกับภาพฝัน(Vision) มุ่งสร้าง ประยุกต์ หาโอกาส แก้ไขข้อบกพร่อง

บทที่ 34-41 หมวกสีเขียว การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ (หน้า 128-161)
ความสมบูรณ์การเติบโต และพืชพันธุ์ที่งอกออกจากเมล็ดเล็กๆ สิ่งใหม่ หนทางใหม่แตกต่างจากเดิม เป็นการคิดริเริ่ม(Creative Thinking) ที่เกิดขึ้นอย่างจงใจด้วยบทบาท และสัญญาณจากหมวกสีเขียวทำให้มีเวลาในการคิด การคิดนอกกรอบ(Lateral Thinking) จากมโนคติหรือการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยอารมณ์ขันและการจัดองค์ประกอบของข้อมูลด้วยตนเอง เคลื่อนไปข้างหน้าไม่เทียบเคียงไม่ตัดสินไม่หยุดนิ่งอาศัยแรงท้าทายก้าวกระโดดไป ไม่มีการโจมตีกันในการคิดไปข้างหน้าอย่างไร้กฏเกณฑ์ แสวงหาไปเรื่อยๆ ไม่พอใจคำตอบแรก แต่บันทึกไว้ สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่หยุดที่จะริเริ่มต่อไป ความคิดริเริ่มเป็นทักษะฝึกได้ ทางเลือกที่ได้ควรได้รับการพิจารณาทั้งหมดอย่าทิ้งเพราะคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสุถานการนั้นอาจถูกใช้แต่ทางเลือกอื่นอาจมีประโยชน์ได้หากเอามาพัฒนาต่อไป

บทที่ 42-47 หมวกสีฟ้า ควบคุมการคิด (หน้า 162-187)
การควบคุมสรรพสิ่ง รวมถึงการปราศจากอคติ ความเยือกเย็น และการควบคุมตนเอง (แผงควบคุม วาทยากร) เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการคิดทั้งหมด จะใช้หมวกใดคิด จัดระบบความคิดแนวอื่นๆ ใช้เครื่องมือการคิดอื่นๆ เข้ามาช่วย เน้นเฉพาะจุด จุดเน้นที่กว้างจะประกอบด้วยจุดเน้นที่แคบมากมาย ตั้งคำถามให้ถูก กำหนดปัญหา กำหนดภารกิจของการคิด ออกแบบการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ลื่นใหลในการคิด จากหมวกหนึ่งสู่อีกหมวกหนึ่ง (เหมือนรถขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ) โดยระลึกว่า การคิดส่วนใหญ่แล้วเป็นการผสานของหมวกขาวและหมวกดำ โดยมีอารมณ์ของหมวกแดงอยู่ข้างหลัง ทั้งนี้การสังเกตและมองภาพรวมกระบวนการคิดที่เคลื่อนไป เห็นผลสรุปเป็นระยะจดบันทึกสิ่งที่ดำเนินอยู่และเกิดขึ้น นำบทบาทนี้มาใช้ขัดจังหวะของหมวกสีอื่นๆ ได้
สรุป วิธีการหมวกคิด 6 ใบมีจุดประสงค์ทำให้การคิดง่าย โดยแยกแยะ ข้อมูล ความจริง อารมณ์ ความหวัง การสร้างสรรค์ ออกจากกัน ไม่ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนอารมณ์ เป็นตน อีกประการคือเพื่อให้สับเปลี่ยนวิธีคิดออกจากมุมที่ตนยึดถือ ทั้งนี้ทุกคนที่ร่วมกันต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือ

ประสพการณ์การนำไปใช้
เคยนำแนวคิดนี้ไปทดลองใช้ในกิจกรรมที่ตัองมีการคิดร่วมกันของกลุ่มคน ประมาณ 8-10 คน ในการอบรม สามครั้ง

ครั้่งแรก ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วขึ้น รูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร ผลการคิดยังไม่เป็นไปตามวิธีทั้งหมดและไม่ได้นำฟ้ามาควบคุมการคิดเพียงแต่ใช้ฟ้ามาสรุป คนที่คิดสรุปแล้วก็กลับไปได้ผลเหมือนไม่ได้ใช้ ตกร่องความคิดเดิม
นำเสนอครั้งแรกและคร้้งที่ 2 จากของท่านเภสัชกรประชาสรรค์ ด้วยความขอบคุณ

ครั้งที่สอง ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง โดยให้ตัวอย่างให้ทดลองคิดคนเดียวก่อน  แล้วขึ้นรูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร และให้ใช้หมวกสีฟ้ามาสรุปเหมือนเดิมไม่ได้ใช้ควบคุมความคิด ผลที่ได้ ก็ยังคงเหมือนเดิมดีกว่าตรงที่ชัดเจนในบางหมวก และก็มาคิดปรับในครั้งที่สาม

นำเสนอในครั้งที่สาม ของหมอวิจารณ์ พานิช ขอขอบพระคุณ
ครั้งที่สาม ยังเน้นในความแยกส่วน แยกความคิดหมวก 6 ใบแต่คราวนี้ในการบรรยาย หมวก 6 ใบ ได้ให้ทำความคิดในแต่ละด้านของแต่ละคนในเรื่องที่จะทำ สร้างการสัมผัสการคิดแบบแต่ละหมวกในงานที่ทำโดยแต่ละคน ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วไม่ต่อเนื่องกันเว้นระยะหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าสู่การคิดร่วมกันได้ผลดีกว่าเดิมแต่ยังใช้หมวกสีฟ้าเพียงแค่สรุปเท่านั้น

(เนื่องจากรายละเอียดมีมากเกี่ยวกับ ผู้อบรม บรรยากาศ ข้อจำกัดของวิทยากร และความชำนาญในการจัดกิจกรรม จึงขอเสนอเพียงเท่านี้)

Web อื่นที่นำเสนอ
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://portal.in.th/pjrattanapan-oab/pages/262/
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://www.gotoknow.org/posts/297126
หมวก 6 ใบ วิธีช่วยคิดอย่าสร้างสรรค์ http://siolence.exteen.com/20080401/entry