หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
ฉบับแปล โดย นุชจรีย์ ชลคุป สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ตุลาคม 2536 จำนวน 198 หน้า
เก็บความ โดย ตุ๊ดตู่ ร่าเริง
มองปัญหา มองชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบใหม่ (ตอนนี้คงเก่าและเราไม่ค่อยได้เห็นคนใช้มากนัก-ผู้เก็บความ)
หนังสือมีทั้งสิ้น 47 บท ไม่รวมคำนำและบทสรุป
บทที่ 1-7 เป็นการเกริ่นนำ กล่าวถึงการคิด สมองและภาพรวมของการสวมหมวก 6 สีในการคิด
บทที่ 8-13 ว่าด้วยหมวกสีขาว (นัยตาตรวจจับ-ผู้เก็บความ) ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล
บทที่ 14-20 ว่าด้วยหมวกสีแดง (สายฟ้าผ่าตรง-ผู้เก็บความ) อารมณ์และความรู้สึก
บทที่ 21-26 ว่าด้วยหมวกสีดำ (พายุดำมืด-ผู้เก็บความ) มีอะไรผิดพลาดหรือ
บทที่ 27-33 ว่าด้วยหมวกสีเหลือง (อาทิตย์เจิดจ้า-ผู้เก็บความ) การคะเนในทางบวก
บทที่ 34-41 ว่าด้วยหมวกสีเขียว (พฤกษาก่อเกิด-ผู้เก็บความ) การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ
บทที่ 42-47 ว่าด้วยหมวกสีฟ้า (ราชาสั่งการ-ผู้เก็บความ) ควบคุมการคิด
บทที่ 1-7 เกริ่นนำ (หน้า 1-30)
นึกถึงรูปปั้นนักคิด การคิดต้องไม่เคร่งเครียดจริงจัง การคิดควรกระตือรือล้นและมีชีวิตชีวาด้วยการสวมบทบาทนักคิดหกแบบนี้ หมวกคือบทบาทของคนแต่ละคนหมวกคิดก็เช่นกัน และใช้ในการคิดแบบใคร่ครวญ (Deliberate Thinking) ไม่ใช่คิดแบบรับมือ(Copying Thinking) การสวมหมวกเป็นการดึงดูดจุดสนใจ ในการเลือกที่จะสวมหมวกสีใด สีแต่ละสีไม่เกี่ยวข้องกันและ เมื่อระบายสีหนึ่งลงไปแล้วสีอื่นจะทาทับไปบนอีกสีหนึ่งจนกว่าจะครบ เมื่อมีความตั้งใจที่จะคิดแล้วต้องมีการปฏิบัติในการคิดนั้น การคิดพัฒนาได้ การตั้งใจ การฟัง และการชลอการตัดสินใจ ทำให้พัฒนาการคิดได้ และหมวกหกใบช่วยให้เป็นรูปธรรมในการคิดได้ การสวมหมวกหรือบทบาทนั้นเป็นการยุติตัวตนของเรา เหมือนเล่นละคร เมื่อสวมบทตัวตลกจงตลก ตัวตนได้รับการปกป้อง จงเล่นบทบาทนั้นๆ ให้ดีที่สุด แต่ละหมวกหรือแต่ละบทบาทมีข้อเด่นของแต่ละสีอยู่
ระบบของเหลวในสมอง และเส้นเลือดเกี่ยวพันกับความคิดของเรา สมองของเรามีกลไกเครือข่ายภายในที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เอง การคิดในแต่ละภาวะอารมณ์มีผลต่อระบบของเหลวในสมองด้วย หมวกหกใบนี้จะกระตุ้นสมดุุลของเหลว(เคมี)ในสมองไม่ให้ตกในภาวะใดภาวะหนึ่ง(เช่น ห่อเหี่ยว ดีใจมาก-ผู้เก็บความ)
คุณค่า 5 ประการ การสวมหมวกช่วยปกป้องตัวตนทำให้แสดงออกในบทบาทนั้นได้อย่างเด็มที่ การเน้นความสนใจในแต่ละด้านทำให้เราคิดอย่างใคร่ครวญไม่คิดแบบรับมือ สะดวกในการขอให้ใครต่อใครปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสดงออก สร้างสมดุลของเหลว(สารเคมี)ในสมอง และ ช่วยสร้างกฏเกณฑ์ในการคิดหลีกเลี่ยงการขัดแย้งในการคิดร่วมกัน
สีของหมวก ขาว ธรรมชาติ ความจริงและภาพที่เป็นภาววิสัย (ทัศนะคติผู้เห็นเป็นกลาง-ผู้เก็บความ) แดง ความโกรธ เดือดดาลและอารมณ์ ทัศนะคติเต็มไปด้วยอารมณ์ (ทัศนะคติผู้ถูกกระทำ-ผู้เก็บความ)ดำ มืดมนและการปฏิเสธ ทัศนะคติเชิงลบ (ทัศนะคติผู้ขัดขวางมองโลกแง่ร้าย-ผู้เก็บความ)เหลือง สว่างไสว สร้างสรรค์ ความหวัง ทัศนะคติเชิงบวก(ทัศนะคติผู้รื่นรมย์-ผู้เก็บความ) เขียว ความอุดมสมบูรณ์ความคิดริเริ่มความคิดใหม่ (ทัศนะคติผู้อยู่นอกกรอบ นอกเหตุเหนือผล -ผู้เก็บความ) ฟ้า ควบคุมและจัดระบบกระบวนคิด หมายถึงนำหมวกทุกใบมาคิดด้วย (ทัศนะคติผู้ควบคุมสั่งการ-ผู้เก็บความ)
ความเป็นคู่ ขาวกับแดง ดำกับเหลือง เขียวกับฟ้า สีสามารถใช้แทนความคิดต่างได้และทำให้ท่าที (บทบาทที่ไม่พึงประสงค์-ผู้เก็บความ)อ่อนลงในการสนทนากัน
บที่ 8-13 หมวกสีขาว ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล (หน้า 31-53)
ข้อเท็จจริงต้องปราศจากความเห็น การประเมินและตีความ ต้องมีจำนวนเหมาะสม ข้อเท็จจริงมีสองระดับ ระดับที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ระดับที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ(มาจากความเชื่อ) ข้อเท็จจริงเป็นเพียงหลักฐานที่ไม่เจือปนความคิดเห็นหรือมุ่งสนับสนุนความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มีข้อสรุปในใจ ฟังมากในการเสนอข้อเท็จจริงแบบชาวญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงแมื่อมันมากพอจะก่อตัวเป็นแผนที่ที่มีทางเดินของมันเอง วิสัยของความจริงมีหลายระดับ เช่น เป็นความจริงเสมอ มักจะจริง โดยทั่วไปแล้วจริง จริงในบางโอกาส เคยเป็นความจริง ไม่เคยเป็นความจริง ตรงกันข้ามกับความจริง การนำมาใช้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของความจริงที่ต้องการ ทั้งนี้ไม่รวมเอาสิ่งต่างๆ ที่มีคุุณค่า เช่น ลางสังหรณ์ การหยั่งรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ความคิดเห็น หมวกสีขาวให้เฉพาะข้อเท็จจริง ตัวเลข การได้มาขึ้นกับการตั้งคำถาม ภายใต้วินัย ปราศจากอคติ
บทที่ 14-20 หมวกสีแดง อารมณ์และความรู้สึก (หน้า 54-76)
เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์และญาณหยั่งรู้ ไม่ต้องพิสูจน์หรือให้เหตุผล ตรงข้ามกับสีขาว อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการคิด เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกิดได้จากแรงกระตุ้น การเผชิญหน้าและปลดปล่อยอารมณ์ทำให้แผนที่ความคิดสมบูรณ์ขึ้น รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกี่ยวข้อง ญาณหยั่งรู้ 2 ประการ รู้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม รู้สถานการณ์โดยฉับพลัน อาจถูกหรือผิด มีแนวโนม้เป็นจริงหรือไม่เป็น เป็นการเปิดโอกาสให้ปรากฎเห็นโดยทั่วกัน การแสดงความรู้สึกภายใต้หมวกสีแดงอาจทำได้เมื่อมีความรู้สึกโดยขอเสนอภายใต้หมวกสีแดง เราไม่อาจลบล้างความรู้สึกนี้ได้แต่ปลดปล่อยได้ เพื่อจะได้เห็นมันในความคิด อย่าพยายามหาเหตุผลมาอธิบายมัน อย่าสร้างอารมณ์จงให้มันปรากฎเอง มันคือสิ่งธรรมดาสามัญ กลัว หวาดระแวง มีการตัดสินอันซับซ้อนอยู่ในอารมณ์เช่น ญาณหยั่งรู้ ลางสังหรณ์ สุนทรียอารมณ์ เป็นต้น มันมีทั้งแง่ลบและแง่บวกในตัวเอง
บทที่ 21-26 หมวกสีดำ มีอะไรผิดพลาดหรือ (หน้า 77-103)
ทัศนะในแง่ลบที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นตรรกะ กล้าแข็ง เย็นชา มืดมิด ไม่จำเป็นต้องยุติธรรม แต่มีเหตุผลที่บ่งว่าวิธีการนี้ทำไมจึงใช้ไม่ได้ เป็นความคิดวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ทะเลาะ โต้เถียง มองในแง่ของหลักฐานสนับสนุนและผลที่เกิดต่อจากการการะทำหนึ่งๆ ให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ โดยรอบ ข้อเท็จจริงต่างๆ ถูกท้าทายโดย การตั้งคำถามถึงความล้มเหลว อันตราย ความมีไม่พอ ปัญหาของศักยภาพในการทำ ซึ่งเราต้องยอมรับมัน ตระหนักถึง เสนอทัศนะแก้ไข มองสีดำด้วยสีดำเช่นกันในแง่ของตรรกะ หรือไม่ยอมรับมันด้วยดรรกะสีดำ ทั้งนี้ไม่มีการตำหนิ โต้เถียง หรืออคติ ความรู้สึกมาเจือปนซึ่งเป็นหน้าที่ของหมวกสีแดงเท่านั้น เป็นการคาดการณ์ไปในอนาคต มุ่งหาข้อบกพร่อง ในกรณีของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ควรใช้หลังหมวกสีเหลือง เพื่อปิดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
บทที่ 27-33 หมวกสีเหลือง การคะเนในทางบวก (หน้า 104-127)
สดใส สว่างไสว มองโลกในแง่ดี ตรงกันข้ามกับสีดำ สนใจในแง่บวก มุ่งประโยชน์ คิดสร้างสรรค์(constructive thinking : ความคิดที่ไม่ทำร้ายใคร)ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เป็นความกระหายใคร่รู้ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ในสิ่งรอบด้าน ขอบเขตของความคิดเชิงบวกนั้นมีตั้้งแต่สุดขั้วเป็นความใฝ่ฝัน ถึงความน่าเชื่อถือเป็นไปได้ หากน่าเชื่อถือมากจะมีความก้าวหน้าในการคิดและการเปลี่ยนแปลงน้อย หากสุดขั้วจะมีความก้าวหน้ามากกว่า ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนหากไม่มีเป็น สีแดง ในแง่ความรู้สึกดีๆเท่านั้น ดังน้้นสีเหลืองนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเต็มที่ มันทำหน้าที่ จุดประกาย ให้ข้อเสนอและประเมินทางบวก หรืออาจเป็นการต่อยอดข้อเสนอ และนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม เป็นการคาดการณ์เชิงบวกบนสถานการณ์ที่ต้องการให้เกิดเกี่ยวพันกับภาพฝัน(Vision) มุ่งสร้าง ประยุกต์ หาโอกาส แก้ไขข้อบกพร่อง
บทที่ 34-41 หมวกสีเขียว การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ (หน้า 128-161)
ความสมบูรณ์การเติบโต และพืชพันธุ์ที่งอกออกจากเมล็ดเล็กๆ สิ่งใหม่ หนทางใหม่แตกต่างจากเดิม เป็นการคิดริเริ่ม(Creative Thinking) ที่เกิดขึ้นอย่างจงใจด้วยบทบาท และสัญญาณจากหมวกสีเขียวทำให้มีเวลาในการคิด การคิดนอกกรอบ(Lateral Thinking) จากมโนคติหรือการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยอารมณ์ขันและการจัดองค์ประกอบของข้อมูลด้วยตนเอง เคลื่อนไปข้างหน้าไม่เทียบเคียงไม่ตัดสินไม่หยุดนิ่งอาศัยแรงท้าทายก้าวกระโดดไป ไม่มีการโจมตีกันในการคิดไปข้างหน้าอย่างไร้กฏเกณฑ์ แสวงหาไปเรื่อยๆ ไม่พอใจคำตอบแรก แต่บันทึกไว้ สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่หยุดที่จะริเริ่มต่อไป ความคิดริเริ่มเป็นทักษะฝึกได้ ทางเลือกที่ได้ควรได้รับการพิจารณาทั้งหมดอย่าทิ้งเพราะคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสุถานการนั้นอาจถูกใช้แต่ทางเลือกอื่นอาจมีประโยชน์ได้หากเอามาพัฒนาต่อไป
บทที่ 42-47 หมวกสีฟ้า ควบคุมการคิด (หน้า 162-187)
การควบคุมสรรพสิ่ง รวมถึงการปราศจากอคติ ความเยือกเย็น และการควบคุมตนเอง (แผงควบคุม วาทยากร) เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการคิดทั้งหมด จะใช้หมวกใดคิด จัดระบบความคิดแนวอื่นๆ ใช้เครื่องมือการคิดอื่นๆ เข้ามาช่วย เน้นเฉพาะจุด จุดเน้นที่กว้างจะประกอบด้วยจุดเน้นที่แคบมากมาย ตั้งคำถามให้ถูก กำหนดปัญหา กำหนดภารกิจของการคิด ออกแบบการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ลื่นใหลในการคิด จากหมวกหนึ่งสู่อีกหมวกหนึ่ง (เหมือนรถขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ) โดยระลึกว่า การคิดส่วนใหญ่แล้วเป็นการผสานของหมวกขาวและหมวกดำ โดยมีอารมณ์ของหมวกแดงอยู่ข้างหลัง ทั้งนี้การสังเกตและมองภาพรวมกระบวนการคิดที่เคลื่อนไป เห็นผลสรุปเป็นระยะจดบันทึกสิ่งที่ดำเนินอยู่และเกิดขึ้น นำบทบาทนี้มาใช้ขัดจังหวะของหมวกสีอื่นๆ ได้
สรุป วิธีการหมวกคิด 6 ใบมีจุดประสงค์ทำให้การคิดง่าย โดยแยกแยะ ข้อมูล ความจริง อารมณ์ ความหวัง การสร้างสรรค์ ออกจากกัน ไม่ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนอารมณ์ เป็นตน อีกประการคือเพื่อให้สับเปลี่ยนวิธีคิดออกจากมุมที่ตนยึดถือ ทั้งนี้ทุกคนที่ร่วมกันต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือ
ประสพการณ์การนำไปใช้
เคยนำแนวคิดนี้ไปทดลองใช้ในกิจกรรมที่ตัองมีการคิดร่วมกันของกลุ่มคน ประมาณ 8-10 คน ในการอบรม สามครั้ง
ครั้่งแรก ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วขึ้น รูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร ผลการคิดยังไม่เป็นไปตามวิธีทั้งหมดและไม่ได้นำฟ้ามาควบคุมการคิดเพียงแต่ใช้ฟ้ามาสรุป คนที่คิดสรุปแล้วก็กลับไปได้ผลเหมือนไม่ได้ใช้ ตกร่องความคิดเดิม
ครั้งที่สอง ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง โดยให้ตัวอย่างให้ทดลองคิดคนเดียวก่อน แล้วขึ้นรูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร และให้ใช้หมวกสีฟ้ามาสรุปเหมือนเดิมไม่ได้ใช้ควบคุมความคิด ผลที่ได้ ก็ยังคงเหมือนเดิมดีกว่าตรงที่ชัดเจนในบางหมวก และก็มาคิดปรับในครั้งที่สาม
ครั้งที่สาม ยังเน้นในความแยกส่วน แยกความคิดหมวก 6 ใบแต่คราวนี้ในการบรรยาย หมวก 6 ใบ ได้ให้ทำความคิดในแต่ละด้านของแต่ละคนในเรื่องที่จะทำ สร้างการสัมผัสการคิดแบบแต่ละหมวกในงานที่ทำโดยแต่ละคน ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วไม่ต่อเนื่องกันเว้นระยะหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าสู่การคิดร่วมกันได้ผลดีกว่าเดิมแต่ยังใช้หมวกสีฟ้าเพียงแค่สรุปเท่านั้น
(เนื่องจากรายละเอียดมีมากเกี่ยวกับ ผู้อบรม บรรยากาศ ข้อจำกัดของวิทยากร และความชำนาญในการจัดกิจกรรม จึงขอเสนอเพียงเท่านี้)
Web อื่นที่นำเสนอ
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://portal.in.th/pjrattanapan-oab/pages/262/
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://www.gotoknow.org/posts/297126
หมวก 6 ใบ วิธีช่วยคิดอย่าสร้างสรรค์ http://siolence.exteen.com/20080401/entry
ฉบับแปล โดย นุชจรีย์ ชลคุป สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ตุลาคม 2536 จำนวน 198 หน้า
เก็บความ โดย ตุ๊ดตู่ ร่าเริง
มองปัญหา มองชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบใหม่ (ตอนนี้คงเก่าและเราไม่ค่อยได้เห็นคนใช้มากนัก-ผู้เก็บความ)
หนังสือมีทั้งสิ้น 47 บท ไม่รวมคำนำและบทสรุป
บทที่ 1-7 เป็นการเกริ่นนำ กล่าวถึงการคิด สมองและภาพรวมของการสวมหมวก 6 สีในการคิด
บทที่ 8-13 ว่าด้วยหมวกสีขาว (นัยตาตรวจจับ-ผู้เก็บความ) ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล
บทที่ 14-20 ว่าด้วยหมวกสีแดง (สายฟ้าผ่าตรง-ผู้เก็บความ) อารมณ์และความรู้สึก
บทที่ 21-26 ว่าด้วยหมวกสีดำ (พายุดำมืด-ผู้เก็บความ) มีอะไรผิดพลาดหรือ
บทที่ 27-33 ว่าด้วยหมวกสีเหลือง (อาทิตย์เจิดจ้า-ผู้เก็บความ) การคะเนในทางบวก
บทที่ 34-41 ว่าด้วยหมวกสีเขียว (พฤกษาก่อเกิด-ผู้เก็บความ) การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ
บทที่ 42-47 ว่าด้วยหมวกสีฟ้า (ราชาสั่งการ-ผู้เก็บความ) ควบคุมการคิด
บทที่ 1-7 เกริ่นนำ (หน้า 1-30)
นึกถึงรูปปั้นนักคิด การคิดต้องไม่เคร่งเครียดจริงจัง การคิดควรกระตือรือล้นและมีชีวิตชีวาด้วยการสวมบทบาทนักคิดหกแบบนี้ หมวกคือบทบาทของคนแต่ละคนหมวกคิดก็เช่นกัน และใช้ในการคิดแบบใคร่ครวญ (Deliberate Thinking) ไม่ใช่คิดแบบรับมือ(Copying Thinking) การสวมหมวกเป็นการดึงดูดจุดสนใจ ในการเลือกที่จะสวมหมวกสีใด สีแต่ละสีไม่เกี่ยวข้องกันและ เมื่อระบายสีหนึ่งลงไปแล้วสีอื่นจะทาทับไปบนอีกสีหนึ่งจนกว่าจะครบ เมื่อมีความตั้งใจที่จะคิดแล้วต้องมีการปฏิบัติในการคิดนั้น การคิดพัฒนาได้ การตั้งใจ การฟัง และการชลอการตัดสินใจ ทำให้พัฒนาการคิดได้ และหมวกหกใบช่วยให้เป็นรูปธรรมในการคิดได้ การสวมหมวกหรือบทบาทนั้นเป็นการยุติตัวตนของเรา เหมือนเล่นละคร เมื่อสวมบทตัวตลกจงตลก ตัวตนได้รับการปกป้อง จงเล่นบทบาทนั้นๆ ให้ดีที่สุด แต่ละหมวกหรือแต่ละบทบาทมีข้อเด่นของแต่ละสีอยู่
ระบบของเหลวในสมอง และเส้นเลือดเกี่ยวพันกับความคิดของเรา สมองของเรามีกลไกเครือข่ายภายในที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เอง การคิดในแต่ละภาวะอารมณ์มีผลต่อระบบของเหลวในสมองด้วย หมวกหกใบนี้จะกระตุ้นสมดุุลของเหลว(เคมี)ในสมองไม่ให้ตกในภาวะใดภาวะหนึ่ง(เช่น ห่อเหี่ยว ดีใจมาก-ผู้เก็บความ)
คุณค่า 5 ประการ การสวมหมวกช่วยปกป้องตัวตนทำให้แสดงออกในบทบาทนั้นได้อย่างเด็มที่ การเน้นความสนใจในแต่ละด้านทำให้เราคิดอย่างใคร่ครวญไม่คิดแบบรับมือ สะดวกในการขอให้ใครต่อใครปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสดงออก สร้างสมดุลของเหลว(สารเคมี)ในสมอง และ ช่วยสร้างกฏเกณฑ์ในการคิดหลีกเลี่ยงการขัดแย้งในการคิดร่วมกัน
สีของหมวก ขาว ธรรมชาติ ความจริงและภาพที่เป็นภาววิสัย (ทัศนะคติผู้เห็นเป็นกลาง-ผู้เก็บความ) แดง ความโกรธ เดือดดาลและอารมณ์ ทัศนะคติเต็มไปด้วยอารมณ์ (ทัศนะคติผู้ถูกกระทำ-ผู้เก็บความ)ดำ มืดมนและการปฏิเสธ ทัศนะคติเชิงลบ (ทัศนะคติผู้ขัดขวางมองโลกแง่ร้าย-ผู้เก็บความ)เหลือง สว่างไสว สร้างสรรค์ ความหวัง ทัศนะคติเชิงบวก(ทัศนะคติผู้รื่นรมย์-ผู้เก็บความ) เขียว ความอุดมสมบูรณ์ความคิดริเริ่มความคิดใหม่ (ทัศนะคติผู้อยู่นอกกรอบ นอกเหตุเหนือผล -ผู้เก็บความ) ฟ้า ควบคุมและจัดระบบกระบวนคิด หมายถึงนำหมวกทุกใบมาคิดด้วย (ทัศนะคติผู้ควบคุมสั่งการ-ผู้เก็บความ)
ความเป็นคู่ ขาวกับแดง ดำกับเหลือง เขียวกับฟ้า สีสามารถใช้แทนความคิดต่างได้และทำให้ท่าที (บทบาทที่ไม่พึงประสงค์-ผู้เก็บความ)อ่อนลงในการสนทนากัน
บที่ 8-13 หมวกสีขาว ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล (หน้า 31-53)
ข้อเท็จจริงต้องปราศจากความเห็น การประเมินและตีความ ต้องมีจำนวนเหมาะสม ข้อเท็จจริงมีสองระดับ ระดับที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ระดับที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ(มาจากความเชื่อ) ข้อเท็จจริงเป็นเพียงหลักฐานที่ไม่เจือปนความคิดเห็นหรือมุ่งสนับสนุนความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มีข้อสรุปในใจ ฟังมากในการเสนอข้อเท็จจริงแบบชาวญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงแมื่อมันมากพอจะก่อตัวเป็นแผนที่ที่มีทางเดินของมันเอง วิสัยของความจริงมีหลายระดับ เช่น เป็นความจริงเสมอ มักจะจริง โดยทั่วไปแล้วจริง จริงในบางโอกาส เคยเป็นความจริง ไม่เคยเป็นความจริง ตรงกันข้ามกับความจริง การนำมาใช้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของความจริงที่ต้องการ ทั้งนี้ไม่รวมเอาสิ่งต่างๆ ที่มีคุุณค่า เช่น ลางสังหรณ์ การหยั่งรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ความคิดเห็น หมวกสีขาวให้เฉพาะข้อเท็จจริง ตัวเลข การได้มาขึ้นกับการตั้งคำถาม ภายใต้วินัย ปราศจากอคติ
บทที่ 14-20 หมวกสีแดง อารมณ์และความรู้สึก (หน้า 54-76)
เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์และญาณหยั่งรู้ ไม่ต้องพิสูจน์หรือให้เหตุผล ตรงข้ามกับสีขาว อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการคิด เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกิดได้จากแรงกระตุ้น การเผชิญหน้าและปลดปล่อยอารมณ์ทำให้แผนที่ความคิดสมบูรณ์ขึ้น รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกี่ยวข้อง ญาณหยั่งรู้ 2 ประการ รู้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม รู้สถานการณ์โดยฉับพลัน อาจถูกหรือผิด มีแนวโนม้เป็นจริงหรือไม่เป็น เป็นการเปิดโอกาสให้ปรากฎเห็นโดยทั่วกัน การแสดงความรู้สึกภายใต้หมวกสีแดงอาจทำได้เมื่อมีความรู้สึกโดยขอเสนอภายใต้หมวกสีแดง เราไม่อาจลบล้างความรู้สึกนี้ได้แต่ปลดปล่อยได้ เพื่อจะได้เห็นมันในความคิด อย่าพยายามหาเหตุผลมาอธิบายมัน อย่าสร้างอารมณ์จงให้มันปรากฎเอง มันคือสิ่งธรรมดาสามัญ กลัว หวาดระแวง มีการตัดสินอันซับซ้อนอยู่ในอารมณ์เช่น ญาณหยั่งรู้ ลางสังหรณ์ สุนทรียอารมณ์ เป็นต้น มันมีทั้งแง่ลบและแง่บวกในตัวเอง
บทที่ 21-26 หมวกสีดำ มีอะไรผิดพลาดหรือ (หน้า 77-103)
ทัศนะในแง่ลบที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นตรรกะ กล้าแข็ง เย็นชา มืดมิด ไม่จำเป็นต้องยุติธรรม แต่มีเหตุผลที่บ่งว่าวิธีการนี้ทำไมจึงใช้ไม่ได้ เป็นความคิดวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ทะเลาะ โต้เถียง มองในแง่ของหลักฐานสนับสนุนและผลที่เกิดต่อจากการการะทำหนึ่งๆ ให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ โดยรอบ ข้อเท็จจริงต่างๆ ถูกท้าทายโดย การตั้งคำถามถึงความล้มเหลว อันตราย ความมีไม่พอ ปัญหาของศักยภาพในการทำ ซึ่งเราต้องยอมรับมัน ตระหนักถึง เสนอทัศนะแก้ไข มองสีดำด้วยสีดำเช่นกันในแง่ของตรรกะ หรือไม่ยอมรับมันด้วยดรรกะสีดำ ทั้งนี้ไม่มีการตำหนิ โต้เถียง หรืออคติ ความรู้สึกมาเจือปนซึ่งเป็นหน้าที่ของหมวกสีแดงเท่านั้น เป็นการคาดการณ์ไปในอนาคต มุ่งหาข้อบกพร่อง ในกรณีของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ควรใช้หลังหมวกสีเหลือง เพื่อปิดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
บทที่ 27-33 หมวกสีเหลือง การคะเนในทางบวก (หน้า 104-127)
สดใส สว่างไสว มองโลกในแง่ดี ตรงกันข้ามกับสีดำ สนใจในแง่บวก มุ่งประโยชน์ คิดสร้างสรรค์(constructive thinking : ความคิดที่ไม่ทำร้ายใคร)ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เป็นความกระหายใคร่รู้ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ในสิ่งรอบด้าน ขอบเขตของความคิดเชิงบวกนั้นมีตั้้งแต่สุดขั้วเป็นความใฝ่ฝัน ถึงความน่าเชื่อถือเป็นไปได้ หากน่าเชื่อถือมากจะมีความก้าวหน้าในการคิดและการเปลี่ยนแปลงน้อย หากสุดขั้วจะมีความก้าวหน้ามากกว่า ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนหากไม่มีเป็น สีแดง ในแง่ความรู้สึกดีๆเท่านั้น ดังน้้นสีเหลืองนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเต็มที่ มันทำหน้าที่ จุดประกาย ให้ข้อเสนอและประเมินทางบวก หรืออาจเป็นการต่อยอดข้อเสนอ และนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม เป็นการคาดการณ์เชิงบวกบนสถานการณ์ที่ต้องการให้เกิดเกี่ยวพันกับภาพฝัน(Vision) มุ่งสร้าง ประยุกต์ หาโอกาส แก้ไขข้อบกพร่อง
บทที่ 34-41 หมวกสีเขียว การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ (หน้า 128-161)
ความสมบูรณ์การเติบโต และพืชพันธุ์ที่งอกออกจากเมล็ดเล็กๆ สิ่งใหม่ หนทางใหม่แตกต่างจากเดิม เป็นการคิดริเริ่ม(Creative Thinking) ที่เกิดขึ้นอย่างจงใจด้วยบทบาท และสัญญาณจากหมวกสีเขียวทำให้มีเวลาในการคิด การคิดนอกกรอบ(Lateral Thinking) จากมโนคติหรือการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยอารมณ์ขันและการจัดองค์ประกอบของข้อมูลด้วยตนเอง เคลื่อนไปข้างหน้าไม่เทียบเคียงไม่ตัดสินไม่หยุดนิ่งอาศัยแรงท้าทายก้าวกระโดดไป ไม่มีการโจมตีกันในการคิดไปข้างหน้าอย่างไร้กฏเกณฑ์ แสวงหาไปเรื่อยๆ ไม่พอใจคำตอบแรก แต่บันทึกไว้ สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่หยุดที่จะริเริ่มต่อไป ความคิดริเริ่มเป็นทักษะฝึกได้ ทางเลือกที่ได้ควรได้รับการพิจารณาทั้งหมดอย่าทิ้งเพราะคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสุถานการนั้นอาจถูกใช้แต่ทางเลือกอื่นอาจมีประโยชน์ได้หากเอามาพัฒนาต่อไป
บทที่ 42-47 หมวกสีฟ้า ควบคุมการคิด (หน้า 162-187)
การควบคุมสรรพสิ่ง รวมถึงการปราศจากอคติ ความเยือกเย็น และการควบคุมตนเอง (แผงควบคุม วาทยากร) เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการคิดทั้งหมด จะใช้หมวกใดคิด จัดระบบความคิดแนวอื่นๆ ใช้เครื่องมือการคิดอื่นๆ เข้ามาช่วย เน้นเฉพาะจุด จุดเน้นที่กว้างจะประกอบด้วยจุดเน้นที่แคบมากมาย ตั้งคำถามให้ถูก กำหนดปัญหา กำหนดภารกิจของการคิด ออกแบบการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ลื่นใหลในการคิด จากหมวกหนึ่งสู่อีกหมวกหนึ่ง (เหมือนรถขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ) โดยระลึกว่า การคิดส่วนใหญ่แล้วเป็นการผสานของหมวกขาวและหมวกดำ โดยมีอารมณ์ของหมวกแดงอยู่ข้างหลัง ทั้งนี้การสังเกตและมองภาพรวมกระบวนการคิดที่เคลื่อนไป เห็นผลสรุปเป็นระยะจดบันทึกสิ่งที่ดำเนินอยู่และเกิดขึ้น นำบทบาทนี้มาใช้ขัดจังหวะของหมวกสีอื่นๆ ได้
สรุป วิธีการหมวกคิด 6 ใบมีจุดประสงค์ทำให้การคิดง่าย โดยแยกแยะ ข้อมูล ความจริง อารมณ์ ความหวัง การสร้างสรรค์ ออกจากกัน ไม่ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนอารมณ์ เป็นตน อีกประการคือเพื่อให้สับเปลี่ยนวิธีคิดออกจากมุมที่ตนยึดถือ ทั้งนี้ทุกคนที่ร่วมกันต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือ
ประสพการณ์การนำไปใช้
เคยนำแนวคิดนี้ไปทดลองใช้ในกิจกรรมที่ตัองมีการคิดร่วมกันของกลุ่มคน ประมาณ 8-10 คน ในการอบรม สามครั้ง
ครั้่งแรก ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วขึ้น รูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร ผลการคิดยังไม่เป็นไปตามวิธีทั้งหมดและไม่ได้นำฟ้ามาควบคุมการคิดเพียงแต่ใช้ฟ้ามาสรุป คนที่คิดสรุปแล้วก็กลับไปได้ผลเหมือนไม่ได้ใช้ ตกร่องความคิดเดิม
นำเสนอครั้งแรกและคร้้งที่ 2 จากของท่านเภสัชกรประชาสรรค์ ด้วยความขอบคุณ |
ครั้งที่สอง ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง โดยให้ตัวอย่างให้ทดลองคิดคนเดียวก่อน แล้วขึ้นรูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร และให้ใช้หมวกสีฟ้ามาสรุปเหมือนเดิมไม่ได้ใช้ควบคุมความคิด ผลที่ได้ ก็ยังคงเหมือนเดิมดีกว่าตรงที่ชัดเจนในบางหมวก และก็มาคิดปรับในครั้งที่สาม
นำเสนอในครั้งที่สาม ของหมอวิจารณ์ พานิช ขอขอบพระคุณ |
(เนื่องจากรายละเอียดมีมากเกี่ยวกับ ผู้อบรม บรรยากาศ ข้อจำกัดของวิทยากร และความชำนาญในการจัดกิจกรรม จึงขอเสนอเพียงเท่านี้)
Web อื่นที่นำเสนอ
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://portal.in.th/pjrattanapan-oab/pages/262/
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://www.gotoknow.org/posts/297126
หมวก 6 ใบ วิธีช่วยคิดอย่าสร้างสรรค์ http://siolence.exteen.com/20080401/entry
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น