คนมีความสุข สร้างองค์กรสมรรถนะสูง
คนอยู่อย่างมีความสุข องค์กรอยู่ยั่งยืน
คนเปลี่ยนไป องค์กรเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรอยู่ยืนยง
(5 กค.66)
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556
เพื่อความสุข จงฝึกตน
“อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
เป็นพุทธสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดังนั้น การฝึกตนทำให้เรียนรู้
ศาสตร์สมัยใหม่บอกว่า การเรียนรู้ต้องผ่อนคลาย ภาวะที่เคร่งเครียดไม่สามารถเรียนรู้ได้
ภาวะผ่อนคลายนั้นเกิดได้ต้องมีความยินดีเป็นฐานในการพัฒนา
ความยินดีมีความพยายามมุ่งมั่นไม่ละวางในเส้นทางที่พบแล้วเป็นฐาน
ความมุ่งมั่นไม่ละวางมีฐานมาจากการเห็นเป้าหมายที่กระจ่างแจ้ง
เป้าหมายที่กระจ่างแจ้งมาจากการคัดสรรโดยความเป็นประโยชน์และเข้าใจประโยชน์นั้น
การคัดสรรนั้นมาจากการระลึกอยู่ในสิ่งกระทบนั้นๆ อย่างรู้ตัวทั่วพร้อม
เมื่อผ่อนคลายและกระทำกิจ(ฝึกตน)อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถที่จะเห็น เข้าใจ โลกได้อย่างไม่เบียดเบียน ปรารถนาให้สรรพสิ่งได้สุขประโยชนตามอัตตภาพ อัตตกรรมแห่งตน ความเป็นกลาง ไม่เอียงเอนก็ผุดบังเกิด
ความเป็นกลางผุดบังเกิดแล้วจึงสร้างความเห็นที่ถูก ไม่ได้เห็นไปในทางเบียดเบียนและเป็นโทษ
ปัจจุบันมีหนทางมากมายในการฝึกตน
ในที่นี้จะขอเสนอวิธีฝึกตน เพื่อไปสู่การผ่อนคลายและ เรียนรู้
อยู่เพียงลำพัง สังเกตุร่างกาย ความรู้สึก และความคิด
อยู่กับร่างกายให้มาก หากมีรู้สึกให้รับรู้ด้วยความรู้สึก หากมีความคิดติดต่อจากความรู้สึกให้เฝ้าดูอย่างนอบน้อม และมีหลักในการเฝ้าดูคือ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่ควรไปยึดถือ ยึดถือรังแต่จะทุกข์ ไม่มีสิ่งใดให้ยึดถือได้
อยู่กับผู้อื่น สังเกตุความคิดตนเอง พยายามหาหลักในกายให้ใจเกี่ยวเกาะ และนำพาความคิดมาด้วย อย่าเริ่มสิ่งใดก่อน ปิดความคิดปรุง การป้องกัน การตอบโต้ การตัดสิน ยึดหลักประโยชน์ หากไม่เป็นประโยชน์ให้สงบไว้ การสนองตอบเป็นไปอย่างคล้อยตามไม่ขัดแย้ง ระงับการแสดงออกในทางโต้เถึยง ฟังให้มาก ฟังให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก ความปรารถนาของผู้สนทนาด้วย บนบาทฐานแห่งการไม่เอนเอียง ไม่เออออด้วย ประคองการสนทนาด้วย สติ เมตตา ขันติ ปัญญาแห่งความกรุณาในมนุษย์ จะสำแดงตนมาในท่ามกลางนั้น
อยู่ลำพัง หากวุ่นวายใจไม่รู้สึกเคว้งคว้าง หาทางไปไม่ได้ให้ปิดอายตนะ ทั้ง 6 ลง
ปิดตาด้วยการหลับตา หลับไม่ได้ ให้เปิดตาดูสิ่งที่เป็นมงคลแก่ตน เช่นรูปพระ รูปแม่ รูปพ่อ หรืออะไรที่เป็นไปในทางเร้ากุศล อาจเปิดตาและหลับตาสลับกันก็ได้ เป็นการกระทำเพื่อปิดตา เช่น มองรูปธรรมชาติ แล้วหลับตาเพื่อให้เห็นรูปนั้นในนิมิตร รูปนี้พึงละเสียเมื่อใจสงบแล้ว ไม่เช่นนั้นจะติดรูป เพราะเพริดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำ รูปนั้น
ปิดหู ด้วยการไม่ฟังสิ่งใด ฟังความเสียงความเงียบให้ได้ยิน ปิดหูไม่ได้ ให้หาเสียงที่ไพเราะมาแทนที่เสียงเหล่านั้น เช่นเสียงเพลงเบาๆ เสียงธรรมชาติ และเสียงอื่นๆ พยายามให้เบาที่สุด และทางที่ดีให้ฟังเสียงความเงียบในความอึกกะทึกครึกโครมให้เป็น
ปิดปากไม่พูด ดื่ม ดูด กิน หรือกริยาอื่นๆ ทางปาก อันนี้ทำให้ได้ ด้วยการปิดตาไม่เห็นของกิน และสิ่งเสพอื่นๆ แต่ผัสสะที่มาทางจมุกยังมี
ปิดจมูกไม่ใช่ไม่หายใจ แต่เป็นการปิดการรับรู้ทางกลิ่น ปิดการคิดปรุงต่อจากกลิ่นที่ผัสสะ กลิ่นที่สรัางความนึกถึงยิ่งต้องให้ระวังการคิดปรุงแต่ต่อ ปรุงแต่งเป็นชอบไม่ชอบ ได้สัมผัสยังไม่เท่าใด แต่การรับรู้และปรุงต่อนี่เป็นอะไรที่ต้องปิด ปิดใจ
ปิดใจ นี่ทำง่ายมากให้นึกถึงตอนที่โล่งสบายที่สุดตอนนั้นแหละเป็นตัวอย่างการไม่คิดปรุงเพราะาฃภาระ ภาวะ ได้พ้นไปแล้ว เช่น ตอนเป็นเด็ก สอบตก ไม่กล้าบอกแม่ พอแม่ถาม บอกแม่ไปว่าสอบตก บอกแล้วมันโล่งสบายเพราะไม่ต้องกลัวว่าแม่จะรู้ บอกแล้วแม่รู้แล้ว อะไรจเกิดก็เกิดต่อไป ไม่ต้องคิด เพราะไม่หวังไม่ต้องการ ไม่คิดปรุงไปด้วยความไม่รู้
อยู่ลำพังเปิดกายไว้ให้มาก ตอนนี้ร้อนไหม เย็นไหม ลมพัดมากระทบส่วนใด นั่งบนเก้าอี้ร้อนที่ก้นไหม ขาอ่อนสัมผัสช่วยรับน้ำหนักของก้นไหม เท้าวางที่ใด วางกับพื้นหรือไขว่ห้างทับกันอยู่ ขาไหนทับขาไหน มือวางไว้ที่ไหน เจ็บหลังหรือเปล่า หัวไหล่ตึงไหม ท้องเป็นอย่างไร ลำใส้อยู่ดีไหม แขนชาหรือเปล่า ความรู้สึกเหล่านี้ให้กายรับรู้ ไม่ใช่ไปคิดเอา หรือรับรู้ดว้ยสมอง ไม่ใช่รู้สึกว่า หรือรับรู้ด้วยใจ
เปิดกายรู้อยู่กับกายมากๆ เป็นการฝึกตนไปสู่อัตตะแห่งความเป็นกลาง และเป็นธรรม
เมื่อกายสงบดีแล้วความรูสึกสงบลงความคิดเป็นกลางไม่เพริดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำกับสิ่งใด ตอนนี้ให้นำสิ่งต่างๆ มาใคร่ครวญได้ จะมีพลังอย่างที่ไม่เคย พบ เห็น เป็นมาก่อน นี่คือการฝึกตน
สิ่งที่ควรนำมาใคร่ครวญมากที่สุดคือสิ่งที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับชีวิตและการเรียนรู้ของเรา สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อเรา
หากทำท่ามกลางสภาวะที่เป็นอยู่ไม่ได้ ให้เข้าป่า ไปหาที่สงัด และปลอดภัยด้วยนะครับ
เดี๋ยวนี้ป่าก็หายาก คิดมุมกลับ ไปหาป่าไม่ได้ สร้างป่าหรือคุณสมบัติของป่ารอบตัวเราได้ไหม
ป่าในเมือง ป่าในบ้าน ปิดห้องเปิดแอร์ หรือดนตรีเพื่อสมาธิ หลับตาเปิดจินตนาการถึงธรรมชาติ ปิดหูจากสิ่งรบกวนเปิดเสียงดนตรีที่เป็นเรื่องของป่า ปิดปากจากการพร่ำบน จุดกำยานที่นำกลิ่นสู่ความสงบเย็น ตัดกังวลไม่คิด ทำความรุ้สึกอยู่กับกายเราให้มาก และอย่าเผลอหลับไปนะครับ
ขอให้มีความสุขกับการฝึกตนครับ
ต่อไปเป็นหนังสือและเสียง
พระปริตรธรรม (จริยา เจียมวิจิตร)
http://web.krisdika.go.th/buddha/parit.pdf
ป.อ.ปยุตโต (เสียงหนังสือ) - โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
http://www.youtube.com/watch?v=lWTIpFx9KWQ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ อักษรผ่าน Web
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara116_3.htm
ไปที่วัดนี้มีเสียง หนังสือ และสิ่งต่างๆ ให้ค้นคว้ามาก
วัดญาณเวศกวัน พระพรหมคุณาภรณ์
http://www.watnyanaves.net/th/home
ชีวิตนี้น้อยนัก ของพระสังฆราช เสียงอ่าน โจโฉ
http://www.youtube.com/watch?v=VZV9P10Nd64
ดนตรีธรรมชาติเพื่อสมาธิ
http://www.youtube.com/watch?v=8p7WX14AfDE
ขอให้มีความสุขกับการฝึกตนนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น