วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สวัสดีปีใหม่ 2557

ศึกษาคำสอนของ กฤษณมูรติ
 ส่งความสุขด้วยนิทรรศการของ มูลนิธิ อันวีกษณา
เพื่อความเข้าใจโลกและส่งมอบความรัก แด่มนุษยชาติ ที่แสวงหาทุกท่าน 
เพื่อปี 2557 ที่มาถึงจะได้สร้างความเข้าใจในชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

RE: ถ้อยความแห่งรักใคร่

สวัสดีครับอาจารย์
           ได้อ่าน ความดีและความชั่ว : เรียนรู้ที่จะมีชีวิตด้วยบัญญัติของตัวเอง
แล้ว ก็มีความเห็นส่วนตัวว่า เริ่มต้นมาจากบทแรกแห่งบทความนี้เลยคือ "ทุกศาสนาได้บัญญัติข้อปฏิบัติทางศาสนาขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติแปลกปละหลาดและไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมาจากความกลัวและความโลภ แต่ศาสนาเหล่านั้นกลับทำให้มีมนุษยชาติผู้น่าสงสาร ซึ่งท่านจะพบเห็นได้ทั่วทุกมุมโลก
แม้นแต่คนที่ร่ำรวยที่สุดก็ยังน่าสงสารเพราะเขาไม่มีอิสระที่จะทำตามจิตสำนึกของเขา เขาต้องทำตามข้อปฏิบัติที่มาจากใครบางคน และไม่มีใครรู้ว่าคนคนนั้นเป็นแค่คนโกหกและฉ้อฉล หรือว่าเป็นแค่นักกวีและคนช่้างฝัน มันไม่มีหลักฐาน เพราะมีหลายคนกล่าวอ้างว่าพวกเขาเป็นพระเจ้าจุติลงมาเกิด เป็นผู้นำสารมาจากพระเจ้า และเป็นผู้เผยแพร่พระวจนะของพระเจ้า แต่พวกเขาล้วนนำสารที่แตกต่างกันมา หากไม่เป็นเพราะพระเจ้าทรงเพี้ยน คนเหล่านี้ก็โกหกและเป็นไปได้มากที่พวกเขาจะโกหก"
นั่นคือ บัญญัติไว้แล้ว ก็ปฏิบัติสืบต่อๆ กันมานั่นเอง เช่น ทำไมเรียกดวงอาทิตย์ ผมจะเรียกดวงจันทร์ไม่ได้หรือ ตอบ ไม่ได้ มันผิด เพราะเขาเรียกว่าดวงอาทิตย์ มานานแล้ว ซึ่งในช่วงสุดท้ายก็จะเป็นจริงอีกที่ว่า
"มันไม่ใช่เรื่องที่ว่าอะไรถูกหรือผิด เพราะอะไรที่ถูกในวันนี้อาจจะผิดในวันรุ่งขึ้นก็ได้"
จึงเป็นเรื่องของการมีจิตสำนึกนะครับ ว่า อะไร คือ อะไร แล้วจะถือปฏิบัติอย่างไร เพราะตามที่อาจารย์เขียนมาคือ "ความจริงและไม่จริง ไม่มีในโลก"
ได้แง่คิดและความรู้ต้อนรับปีใหม่ ดีมากเลยครับ ขอบคุณมากครับ มีความสุขในปีใหม่และสุขภาพแข็งแรง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ไปอีกนานเท่านานนะครับ
ด้วยความนับถือ
ยุทธนา


Date: Fri, 27 Dec 2013 00:13:35 +0700
Subject: Re: ถ้อยความแห่งรักใคร่
From: rarearntoo@gmail.com
To: yud5942@hotmail.com
CC: anuruk.s@egat.co.th; pongbenja@gmail.com; boonyanit.w@egat.co.th; 576476@egat.co.th; chana.u@egat.co.th; hattaya.ti@egat.co.th; hydro.cen11.yudthana@blogger.com; jirachai.js@gmail.com; jirachai.s@egat.co.th; jitdee.p@egat.co.th; jitdee.pra@gmail.com; iamsinger2012@gmail.com; kamonrat.c@egat.co.th; kanya.s@egat.co.th; kitti.t@egat.co.th; 359815@egat.co.th; nattida.s@egat.co.th; torn448.ltd@gmail.com; nintira.t@egat.co.th; 074004@egat.co.th; nisakorn.p@egat.co.th; 445878@egat.co.th; ormrak.w@egat.co.th; pairush.s@egat.co.th; 301604@egat.co.th; pisit.ka@egat.co.th; 123633@egat.co.th; 447579@egat.co.th; sakun.p@egat.co.th; sirirat.m@egat.co.th; soontorn.a@egat.co.th; 229652@egat.co.th; 590066@egat.co.th; thamnoon.k@egat.co.th; 063363@egat.co.th; thanarat.b@egat.co.th; udomphon.s@egat.co.th; viboon.p@egat.co.th; wasana.b@egat.co.th; yaktuktee.rarearng@blogger.com; phatthararudee.r@egat.co.th; jakrapong.g@egat.co.th; nopsakol81@gmail.com; pisit.ka@gmail.com; songyost.j@egat.co.th; thepvithak.k@egat.co.th; 950247@egat.co.th; 270709@egat.co.th; burin.l@egat.co.th; prapun.s@egat.co.th; phunvadee.u@egat.co.th; patcharee.j@egat.co.th; rungsit.k@egat.co.th; sirawat.m@egat.co.th; sutin.cho@egat.co.th; nuie123@yahoo.com.au

คำถามพี่ยุทธนา
ผมไม่มีด้านใด ผมไม่เอาด้านใด เพราะไม่ว่ากี่ด้านต่อกี่ด้าน เลวหมด
คำพูดแบบนี้ มีไหม ใช้ได้ไหม เป็นจริงไหม คือ ทุกสิ่งในโลกใบนี้เลวหมด ฉันดีคนเดียว (รึเปล่า)
ตอบพี่ยุทธนา
แยกแยะดังนี้นะครับ
ผมไม่มีด้านใด ผมไม่เอาด้านใด เพราะไม่ว่ากี่ด้านต่อกี่ด้าน เลวหมด
อันนี้เป็นทัศนะที่นำมาเป็นตัวโจทย์
คำพูดแบบนี้ มีไหม ใช้ได้ไหม เป็นจริงไหม
อันนี้เป็นคำถาม แยกเป็นสามตอน คือ ทัศนะนี้ มีไหม 1 ตามด้วย ใช้ได้ไหม 2 ต่อด้วย เป็นจริงไหม 3
คือ ทุกสิ่งในโลกใบนี้เลวหมด ฉันดีคนเดียว (รึเปล่า)
อันนี้อธิบาย คำถามแบบรวบยอด ด้วยการตัดสินทุกสิ่งในโลกใบนี้ และถามว่า ฉันดีคนเดียวหรือไม่
ตีความทัศนะสักนิดนะครับ
ไม่มีด้านใด ไม่เอาด้านใด ไม่ว่ากี่ด้านต่อกี่ด้าน เลวหมด ผมถามกลับว่า แล้วทัศนะของพี่มองจากด้านที่ไม่อยู่ในด้านใด ไม่อยู่ในกี่ด้านต่อกี่ด้าน มันก็ต้องมีที่หยัดยืน มีด้านที่ต่างออกไปจากที่พี่กล่าวมานั้นนะครับ ที่ต่างออกไปนั้นมีการแบ่งแยกอยู่ในนั้น และมีการตัดสิน จากการตัดสินนั่นเองแสดงว่ามีการวัด และมีมาตรแห่งความดีเลวอยู่ในนั้น คือ มันมีเกณฑ์อยู่ในความคิดนั้นครับ นั่นหมายความว่า ในความเลว(ที่ตัดสินไป)ก็มีความดีอยู่(ในเกณฑ์ทีกำหนดไว้แล้ว)มันอยู่ด้วยกันในใจของผู้ตัดสินนั้น
ต่อไปเป็นทัศนะของผม ซึ่งอาจไม่ใช่คำตอบนะครับ
คำพูดหรือถ้อยคำนั้น
เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างขึ้นเพื่อสื่อสาร สื่อสารกับตนเองและผู้อื่น สื่อสารกับตนเองด้วยการคิด ส่วนใหญ่เราคิดด้วยถ้อยคำ ถ้อยคำที่ถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์และการดำรงชีวิตของเรา "ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนออกจากใจ"
ทีนี้เมื่อถ้อยคำนั้นถูกสร้างขึ้น
ผมไม่มีด้านใด ผมไม่เอาด้านใด เพราะไม่ว่ากี่ด้านต่อกี่ด้าน เลวหมด
มันจึงมีอยู่ มันใช้ได้สำหรับการสื่อสารกับตัวเองและผู้อื่น บ่งบอกความคิดของผู้สื่อความนั้น และมันเป็นจริงในความรู้สึกสำหรับผู้สื่อสารผู้ส่งความนั้น และมันเป็นจริงในความรู้สึกสำหรับผู้เห็นด้วยหรือมีทัศนะเช่นเดียวกัน แต่มันอาจไม่เป็นจริงในความรู้สึกสำหรับผู้มีทัศนะตรงกันข้าม และมันอาจไม่สร้างความรู้สึกเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงในผู้ไร้ทัศนะต่อถ้อยความนั้น
ด้วยทัศนะของผม ความจริงและไม่จริง ไม่มีในโลก มีแต่ความรู้สึกที่ว่าจริงหรือไม่จริงเท่านั้นซึ่งเป็นไปตามที่มนุษย์ให้ คุณค่า ตีราคา ให้ความหมาย แล้วเข้าไปยึดถือนะครับ ดังนี้ การยึดถือจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ทั้งคุณค่า ราคา และความหมาย มีได้ด้วยการยึดถือครับ การยึดถือนั้นแหละสร้างเกณฑ์ มาตรวัดและตามมาด้วยการตัดสิน
ทุกสิ่งในโลกใบนี้เลวหมด ฉันดีคนเดียว (รึเปล่า)
สังเกตให้ดีนะครับ ประโยคมีคำตอบในตัวเอง ด้วย
ฉัน เป็นส่วนหนึ่งของ ทุกสิ่งในโลกใบนี้ ดังนั้น ฉันดีคนเดียวหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นถ้อยคำนี้ก็ขัดแย้งในตัวเอง
ดี เลว มนุษย์ให้ คุณค่า ราคา และความหมายด้วยการยึดถือครับ
ผมนั้นรับฟังทุกด้านครับ บางครั้งผมมองอีกด้านด้วยทัศนะที่อยากจะมองให้รอบ จึงสร้างความรู้สึกไม่เห็นด้วยให้กับคู่สนทนา และคู่สนทนามักตัดสินผมว่าเป็นคนละพวกกับเขา ผมจึงต้องเปลี่ยนท่าทีในการแสดงทัศนะ บางครั้งก็นิ่งเสีย ตามสุภาษิตไทยเดิมนั่นแหละครับ
อยากยกกลอนของท่านพุทธทาส สักบทครับเกี่ยวกับดีเลวครับ
เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาสิ่งดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
ตามประสาผมนะครับ สิ่งดี ที่่ท่านว่านั้น คือ เป็นประโยชน์โลก ครับ สิ่งที่โลกนี้สร้างขึ้นมามีประโยชน์และจำเป็นต่อโลกทั้งนั้นครับ ไม่ว่าสิ่งที่เรียกว่าดี หรือ เลว ตามที่ มโนธรรม ยึดถือ
ผมมีงานที่คัดลอกมาจาก โอโช และ คาลิล ยิบรานให้พี่ลองอ่านและให้ความเห็นแลกเปลี่ยนกัน เกียวกับเรื่องที่เราแลกเปลี่ยนกันนี่แหละครับ
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

หมายเหตุ ผมต้องขออภัยที่ใช้ Reply to All ด้วยเห็นว่าเป็นการแสดงทัศนะในเรื่องเดียวกัน ขออภัยอีกครั้งหากท่านไม่ต้องการรับ Email ทำนองนี้อีกโปรดแจ้งกลับที่ rarearntoo@gmail.com จักเป็นพระคุณยิ่ง




2013/12/26 ยุทธนา จุฑารัตน์ <yud5942@hotmail.com>
สวัสดีครับอาจารย์
         ได้อ่านสิ่งดีๆ ก็อดที่จะขออนุญาตแลกเปลี่ยนไม่ได้นะครับ
ผมได้คุยกับเพื่อนบ้านซึ่งเขาเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่พอได้คุยกัน ผมรู้สึกว่าเขาไม่ธรรมดา แต่มีความรู้ มีความคิด ที่สูงทีเดียว คือ มันตรงกับข้อความที่อาจารย์พูดว่า "ผมแสดงทัศนะเสมอว่า ในสิ่งที่ดีก็มีสิ่งไม่ดีอยู่ ในสิ่งไม่ดีก็มีสิ่งที่ดีอยู่" ครับ...คือ 
แกพูดว่า "คุณรู้มั้ย ความดี กับ ความเลว มันเป็นฝาแฝดกัน และเป็นแฝดที่แยกไม่ออกด้วย คนแฝด ยังดูรู้ว่าคนไหน แต่ ความดี กับ ความเลว มันไม่มีตำหนิให้จดจำ คนที่นำแฝดเลว มาใช้ แล้วบอกว่า มันดี มันก็จะดีในคนคนนั้น แต่ทั้งๆที่ จริงๆ มันเลว เช่น กินเหล้า-สูบบุหรี่ ไม่ดี (อันนี้คงจะแล้วแต่ ใครว่าดีหรือไม่ดี..ยุทธนา) คนกินเหล้า-สูบบุหรี่ แล้วบอกว่าเป็นสิ่งดี มีมาด มีบุคลิก มีฐานะ มันก็จะดีในคนคนนั้น คนไปทำงานเช้าก่อนเวลาทุกวัน เป็นสิ่งดี (ในสายตา ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติ....ยุทธนา) แต่คนอื่นๆ บอกว่าไม่ดี มันก็จะเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับคนนั้นๆ สรุปว่า การเอาแฝดใดมาใช้ มันมีสิทธิที่จะเป็นอีกแฝดหนึ่ง ได้เสมอ เพราะอยู่ที่คนใช้ ไม่ได้อยู่ที่ไอ้แฝด
ครับอาจารย์.. พอได้อ่านก็เลยนึกถึงที่เล่ามานี้ว่า ดี ไม่ดี ไม่ได้อยู่ไหน ไม่ได้แยกจากกัน มันอยู่ด้วยกันสุดแต่จะมอง...จะทำ...จะหาว่า...จะอะไรๆ....อาทิ ข้อเขียนของอาจารย์นี้ ผมว่า ดี ยังไง มันก็ดีสำหรับผม ใช่ไหมครับ แต่คนอื่นกลับมองว่าไม่ดีบ้างหละ มันก็ไม่ดีสำหรับเขา นะครับ ดังนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองก็เช่นกัน เป็นฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้ พอเปิดโทรทัศน์ช่องนี้ ก็บอกฉันดี มันไม่ดี กลับไปเปิดโทรทัศน์ช่องโน้น ก็บอกมันไม่ดี ฉันดี แล้วจะให้เข้าใจว่า ใครดี ใครเลว ดังนั้น อีกคำพูดหนึ่งของอาจารย์ที่ว่า
"สิ่งคู่กันนี้ดำรงอยู่ด้วยกันเสมอมาเป็นพื้นฐาน และความจริงที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เหมือนหน้ามือและหลังมือมาพร้อมกันแล้วแต่เราจะดูด้านใด แต่มันเชื่อมโยงกันด้วยสิ่งที่สัมผัสได้คือความรักใคร่ ความรักใคร่ที่ขับเน้นให้เราเป็นไป" นั่นก็คือ แล้วแต่เราจะดูด้านใด นั่นเอง ก็คือ อยู่ที่เรา

ทีนี้ ผมก็มีำคำถามครับอาจารย์ ว่า
ผมไม่มีด้านใด ผมไม่เอาด้านใด เพราะไม่ว่ากี่ด้านต่อกี่ด้าน เลวหมด
คำพูดแบบนี้ มีไหม ใช้ได้ไหม เป็นจริงไหม คือ ทุกสิ่งในโลกใบนี้เลวหมด ฉันดีคนเดียว (รึเปล่า)

ขอบคุณในสิ่งดีๆ ต้อนรับปีใหม่ครับอาจารย์
ศุภฤกษ์ เบิกดิถี วันปีใหม่
พระพรชัย สิงศักดิ์สิทธิ์ ประสิทธิ์ผล
ผลานุภาพ เทพไท้ ให้ช่วยดล
สิริมงคล แด่คุณศิริวัฒน์ นิรันดร์เทอญ
ด้วยความนับถือ
ยุทธนา
ขออภัยทุกท่านที่ตอบเมล์กลับมา อาจไม่ถูกใจ โปรดอภัย ขอบคุณครับ

Date: Wed, 25 Dec 2013 22:44:38 +0700

Subject: ถ้อยความแห่งรักใคร่
From: rarearntoo@gmail.com
To: anuruk.s@egat.co.th; pongbenja@gmail.com; boonyanit.w@egat.co.th; 576476@egat.co.th; chana.u@egat.co.th; hattaya.ti@egat.co.th; hydro.cen11.yudthana@blogger.com; jirachai.js@gmail.com; jirachai.s@egat.co.th; jitdee.p@egat.co.th; jitdee.pra@gmail.com; iamsinger2012@gmail.com; kamonrat.c@egat.co.th; kanya.s@egat.co.th; kitti.t@egat.co.th; 359815@egat.co.th; Nattida.S@egat.co.th; torn448.ltd@gmail.com; nintira.t@egat.co.th; 074004@egat.co.th; nisakorn.p@egat.co.th; 445878@egat.co.th; ormrak.w@egat.co.th; pairush.s@egat.co.th; 301604@egat.co.th; pisit.ka@egat.co.th; 123633@egat.co.th; 447579@egat.co.th; sakun.p@egat.co.th; sirirat.m@egat.co.th; soontorn.a@egat.co.th; 229652@egat.co.th; 590066@egat.co.th; thamnoon.k@egat.co.th; 063363@egat.co.th; thanarat.b@egat.co.th; Udomphon.S@egat.co.th; viboon.p@egat.co.th; wasana.b@egat.co.th; yaktuktee.rarearng@blogger.com; phatthararudee.r@egat.co.th; jakrapong.g@egat.co.th; nopsakol81@gmail.com; pisit.ka@gmail.com; songyost.j@egat.co.th; Thepvithak.K@egat.co.th; 950247@egat.co.th; 270709@egat.co.th; burin.l@egat.co.th; prapun.s@egat.co.th; phunvadee.u@egat.co.th; patcharee.j@egat.co.th; yud5942@hotmail.com; rungsit.k@egat.co.th; Sirawat.M@egat.co.th; sutin.cho@egat.co.th; nuie123@yahoo.com.au


ผมใช้เวลาติดตามและสังเกตความเป็นไปในปัจจุบันของสังคมไทย สังคมที่มีการแปลกแยก ช่วงชิง แข่งขัน กระทบกระทั่งกันตลอดเวลา คลื่นแห่งความขัดแย้ง ความชิงชัง ถ้อยคำชักจูง (การแสดงหลักฐานเป็นการชักจูง การทำให้น่าเชื่อถือเป็นการชักจูง การกระตุ้นกิเลสในตัวมนุษย์ ให้รัก ชอบ โกรธ เกลียด แค้น และอื่นๆ เป็นการชักจูงเช่นกัน)
ความคิดของผู้คนเป็นอย่างไรหนอ ระหว่างติดตามและสังเกต ผมก็พยายามทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ตลอดเวลาที่ผมแลกเปลี่ยนกับมนุษย์ด้วยกันนั้น ผมเชื่อมั่นเสมอในความเป็นมนุษย์ของแต่ละปัจจเจกบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ผมแสดงทัศนะเสมอว่า ในสิ่งที่ดีก็มีสิ่งไม่ดีอยู่ ในสิ่งไม่ดีก็มีสิ่งที่ดีอยู่ มีคนถามผมว่ามันจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ผมมักยกตัวอย่างความปรารถนาดีระหว่างมารดาและบุตร มารดาปรารถนาดีและตามใจบุตรเสมอมาในขณะเดียวกันก็บ่มเพาะความไม่พึงปรารถนาบางอย่างให้กับบุตรได้ หรือความปรารถนาดีของบุตรที่ขโมยอาหารและยามาให้มารดา สิ่งคู่กันนี้ดำรงอยู่ด้วยกันเสมอมาเป็นพื้นฐาน และความจริงที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เหมือนหน้ามือและหลังมือมาพร้อมกันแล้วแต่เราจะดูด้านใด แต่มันเชื่อมโยงกันด้วยสิ่งที่สัมผัสได้คือความรักใคร่ ความรักใคร่ที่ขับเน้นให้เราเป็นไป
ในถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง นั้นก็มีความรักใคร่แฝงอยู่เช่นกัน เกลียดสิ่งหนึ่งเพราะรักอีกสิ่งหนึ่ง เรามักแยกมันไม่ออกมองมันไม่เห็น หากยังไม่ได้ผลตามที่เราต้องการเรามักแสดงมากขึ้น มีกิจกรรมหนึ่งที่เราใช้ในการแสดงให้เห็นการไม่ยอมรับของสังคม เราใช้ในกลุ่มใหญ่ที่มีคนประมาณ 20 คนขึ้นไป เราให้มีอาสาสมัครสักสามคน ออกไปนอกห้องแล้วมีกติกาว่าเขาต้องแสดงโดยไม่พูดให้คนอื่นทายว่าเขาแสดงเป็นอะไร เรามักใช้สัตว์สามชนิด เช่น งู ช้าง เสือ เป็นต้น แต่ผู้จัดจะรู้ว่าคนที่เข้ามาจะแสดงเป็นอะไร และจะบอกผู้อยู่ในห้องว่าห้ามทายเป็นสัตว์ชนิดนั้น คนแรกเป็นงู เราให้ทายได้ทุกอย่างยกเว้น งู เมื่อผู้แสดงเข้ามาแสดงให้ทาย เขาจะแสดงเริ่มจากคิดว่าเอาละคนต้องรู้แน่ว่าเป็นงู ชูมือ แผ่แม่เบี้ย และเมื่อยังไม่มีคนทายถูกก็จะเพิ่มความพยายามมากขึันไปอีก บางคนลงทุนเลื้อยไปกับพื้น และท้ายที่สุดเมื่อไม่มีใครทายถูกเขาก็หมดแรงและยอมแพ้ เราให้ผู้แสดงคนแรกนั่งดูในห้องและห้ามพูด คนที่สองเข้ามาและอาการก็เป็นอย่างเดียวกัน ผม(ผู้จัด)สังเกตเห็นเขาเริ่มเข้าใจบางอย่างและบางคนที่มีเมตตามากจะน้ำตาใหลสงสารเพื่อนคนที่สองถึงกับหันหลังไม่อยากดู เหตุการณ์เป็นเช่นนี้จนครบสามคน สิ่งแรกที่ทำเมื่อจบคือขอโทษอย่างจริงใจ และขอบคุณที่ได้ให่้บทเรียนที่ดีแก่กลุ่ม เราจะเห็นว่าเมื่อไม่มีการยอมรับ ความพยายามอยากให้ยอมรับจะขับเน้นการกระทำให้มากขึ้นและเมื่อถึงที่สุดก็กลายเป็นความผิดหวัง ที่นำไปสู่ความสิ้นหวังในที่สุด บทเรียนจะเป็นไปในใจของแต่ละคนโดยที่มีความคิดและประสบการณ์เป็นผู้สอน และแน่นอนมนุษย์ทุกคนต้องการการยอมรับและจะแสดงมากขึ้นในทุกๆทางที่ปัญญาที่มีส่งให้กระทำไป
ในความรักใคร่ ส่งให้คนใช้ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความรักใคร่ของตนเอง ชักจูงให้คนเห็น หว่านล้อมให้ยอมรับ แสดงออกมากขึ้น และมากขึ้นเพื่อผลที่จะได้รับการยอมรับ ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังจึงพรั่งพรูกันออกมา และซ่อนความรักใคร่ไว้ด้านใน เมื่อมีการรวมหมู่พวกขึ้น การเปลียนถ้อยคำแห่งความเกลียดชังอาจพัฒนาต่อไปเป็นถ้อยคำแห่งการทำลาย
ผมเห็นการชักจูงให้ทำลาย ทำลายด้วยความรักใคร่ ปรารถนาให้สิ่งไม่ปารถนาปราศนาการไป ไปจากความรักใคร่แห่งตน การทำลายสิ่งไม่ปรารถนาอย่างมีความชอบธรรมในความดีแห่งตน แต่ไม่ใช่ความชอบธรรมแห่งธรรม เพราะธรรมไม่เคยทำลายสิ่งใด ธรรมตั้งอยู่อย่างอดทน อดทนและเชื่อในผลแห่งกรรมไม่ได้เชื่อในความพยายามใช้ความดีของคน ความดีที่ทำร้ายทำลายสิ่งแตกต่าง
การดั่งนี้ พระพุทธองค์ ทรงกล่าวไว้ด้วยเห็นความเป็นไปในโอวาทปาฏิโมกข์ ว่า

๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
การบำเพ็ญแต่ความดี
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
๏ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
ที่นั่งนอนอันสงัด
ความเพียรในอธิจิต
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอให้พิจารณาในถ้อยความที่ว่า อนูปวาโท อนูปฆาโต การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย สิ่งเหล่านี้ในช่วงที่่ผ่านมา ผมเห็นและสิ้นหวังอย่างมากในความเป็นชาวพุทธของคนไทย
อนูปวาโท คือ การไม่ใช้ Hate Speech ซึ่งนำไปสู่ Crime Speech และจะนำไปสู่อาชญากรรมและการทำร้าย (Crime & Violence) ในที่สุด
เราไม่อาจยอมรับการกล่าวร้ายและการทำร้ายในฐานะของผู้สร้างได้ สิ่งนี้เป็นการทำลายอย่างแท้จริง
เราเห็นการคุกคามเพื่อให้คนเห็นคล้อยตาม เราเห็นคนที่ตัดสินคนที่ไม่เห็นด้วยว่าไม่ใช่คน เราเห็นว่ากลุ่มคนสร้างความชอบธรรม ด้วยความเชื่อมั่นในความดี คุณธรรมแห่งตน และสร้างมากขึ้นเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม การพูดชักจูงเหมือนสะกดจิต และให้ตั้งมั่นในความดี คุณธรรมแห่งตนที่ยึดถือไว้ไม่ใช่ความดีที่เป็นของทุกคน มีตรรกะที่สนับสนุนว่าคนอื่นเข้าไม่ถึงความดีที่ตนยึดถือ คนอื่นทึ่เห็นต่างจึงไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะมีความดี ให้น่าสงสัยในความดีเยี่ยงนี้นัก ด้วยว่าเป็นความดีที่ไม่เห็นคนมีคุณค่าทัดเทียมกัน
สิ่งที่มนุษย์พยายามเข้าถึง ความจริง ความงาม ความดี นั้น มีผู้อธิบายไว้ว่า ความจริงนั้นปวดร้าวรันทดเป็นทุกข์ ทุกข์ก็คือความจริง ความทุกข์จะบรรเทาด้วยความงาม เมื่อความงามปรากฏตนความทุกข์ที่เป็นความจริงจะถูกกลบไว้ และนั่นแหละทำให้ความดีได้เผยตัวในใจมนุษย์ มนุษย์จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ และทำให้โลกนี้น่าอยู่ ไม่มีการกำจัด ไม่มีการทำร้าย มีแต่ความดีที่เป็นประโยชน์ต่อสรรพสิ่ง พื้นดิน แผ่นฟ้า มหานที และไฟปรารถนาในสรรพธาตุรู้ ความดีเยี่ยงนี้เป็นความดีของทุกคน ไม่ว่าจะศึกษามาแขนงใด เพียงแต่มีความเป็นคน สัมผัสได้กับความดีเยี่ยงนี้เอง

ในถ้อยคำแห่งความเกลียดชังนั้นผมเห็นถ้อยความแห่งรักใคร่มีที่ทางของมันอยู่ มันอยู่ด้วยกันรอเวลาให้ผู้ใช้ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังได้พบเห็น เห็นความรักใคร่ที่แฝงอยู่ เมื่อความเกลียดชังจากไป ความเมตตากรุณาเผยตนให้เห็นความรักใคร่นั้น
ถ้อยความแห่งรักใคร่จะปรากฏแก่ทุกคนได้ เพียงเพราะเราดำรงตนอยู่ที่นั่นอย่างอดทนเพียงพอ เหมือนรอให้เมล็ดพันธ์พืชได้งอกงาม ต้นสักใหญ่หลายคนโอบเดิบโตจากเมล็ดพันธ์ที่ไม่ได้โตกว่านิ้วหัวแม่มือเลย เพียงแต่ต้องการเวลา และความอดทน นั่นหมายความว่า มนุษย์ต้องมีเมตตาที่ประมาณมิได้เพื่อให้ เมล็ดพันธุ์นัืนเดิบโต
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ถ้อยความแห่งรักใคร่

ผมใช้เวลาติดตามและสังเกตความเป็นไปในปัจจุบันของสังคมไทย สังคมที่มีการแปลกแยก ช่วงชิง แข่งขัน กระทบกระทั่งกันตลอดเวลา คลื่นแห่งความขัดแย้ง ความชิงชัง ถ้อยคำชักจูง (การแสดงหลักฐานเป็นการชักจูง การทำให้น่าเชื่อถือเป็นการชักจูง การกระตุ้นกิเลสในตัวมนุษย์ ให้รัก ชอบ โกรธ เกลียด แค้น และอื่นๆ เป็นการชักจูงเช่นกัน)
ความคิดของผู้คนเป็นอย่างไรหนอ ระหว่างติดตามและสังเกต ผมก็พยายามทำความเข้าใจไปพร้อมกัน ตลอดเวลาที่ผมแลกเปลี่ยนกับมนุษย์ด้วยกันนั้น ผมเชื่อมั่นเสมอในความเป็นมนุษย์ของแต่ละปัจจเจกบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ผมแสดงทัศนะเสมอว่า ในสิ่งที่ดีก็มีสิ่งไม่ดีอยู่ ในสิ่งไม่ดีก็มีสิ่งที่ดีอยู่ มีคนถามผมว่ามันจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ผมมักยกตัวอย่างความปรารถนาดีระหว่างมารดาและบุตร มารดาปรารถนาดีและตามใจบุตรเสมอมาในขณะเดียวกันก็บ่มเพาะความไม่พึงปรารถนาบางอย่างให้กับบุตรได้ หรือความปรารถนาดีของบุตรที่ขโมยอาหารและยามาให้มารดา สิ่งคู่กันนี้ดำรงอยู่ด้วยกันเสมอมาเป็นพื้นฐาน และความจริงที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เหมือนหน้ามือและหลังมือมาพร้อมกันแล้วแต่เราจะดูด้านใด แต่มันเชื่อมโยงกันด้วยสิ่งที่สัมผัสได้คือความรักใคร่ ความรักใคร่ที่ขับเน้นให้เราเป็นไป
ในถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง นั้นก็มีความรักใคร่แฝงอยู่เช่นกัน เกลียดสิ่งหนึ่งเพราะรักอีกสิ่งหนึ่ง เรามักแยกมันไม่ออกมองมันไม่เห็น หากยังไม่ได้ผลตามที่เราต้องการเรามักแสดงมากขึ้น มีกิจกรรมหนึ่งที่เราใช้ในการแสดงให้เห็นการไม่ยอมรับของสังคม เราใช้ในกลุ่มใหญ่ที่มีคนประมาณ 20 คนขึ้นไป เราให้มีอาสาสมัครสักสามคน ออกไปนอกห้องแล้วมีกติกาว่าเขาต้องแสดงโดยไม่พูดให้คนอื่นทายว่าเขาแสดงเป็นอะไร เรามักใช้สัตว์สามชนิด เช่น งู ช้าง เสือ เป็นต้น แต่ผู้จัดจะรู้ว่าคนที่เข้ามาจะแสดงเป็นอะไร และจะบอกผู้อยู่ในห้องว่าห้ามทายเป็นสัตว์ชนิดนั้น คนแรกเป็นงู เราให้ทายได้ทุกอย่างยกเว้น งู เมื่อผู้แสดงเข้ามาแสดงให้ทาย เขาจะแสดงเริ่มจากคิดว่าเอาละคนต้องรู้แน่ว่าเป็นงู ชูมือ แผ่แม่เบี้ย และเมื่อยังไม่มีคนทายถูกก็จะเพิ่มความพยายามมากขึันไปอีก บางคนลงทุนเลื้อยไปกับพื้น และท้ายที่สุดเมื่อไม่มีใครทายถูกเขาก็หมดแรงและยอมแพ้ เราให้ผู้แสดงคนแรกนั่งดูในห้องและห้ามพูด คนที่สองเข้ามาและอาการก็เป็นอย่างเดียวกัน ผม(ผู้จัด)สังเกตเห็นเขาเริ่มเข้าใจบางอย่างและบางคนที่มีเมตตามากจะน้ำตาใหลสงสารเพื่อนคนที่สองถึงกับหันหลังไม่อยากดู เหตุการณ์เป็นเช่นนี้จนครบสามคน สิ่งแรกที่ทำเมื่อจบคือขอโทษอย่างจริงใจ และขอบคุณที่ได้ให่้บทเรียนที่ดีแก่กลุ่ม เราจะเห็นว่าเมื่อไม่มีการยอมรับ ความพยายามอยากให้ยอมรับจะขับเน้นการกระทำให้มากขึ้นและเมื่อถึงที่สุดก็กลายเป็นความผิดหวัง ที่นำไปสู่ความสิ้นหวังในที่สุด บทเรียนจะเป็นไปในใจของแต่ละคนโดยที่มีความคิดและประสบการณ์เป็นผู้สอน และแน่นอนมนุษย์ทุกคนต้องการการยอมรับและจะแสดงมากขึ้นในทุกๆทางที่ปัญญาที่มีส่งให้กระทำไป
ในความรักใคร่ ส่งให้คนใช้ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความรักใคร่ของตนเอง ชักจูงให้คนเห็น หว่านล้อมให้ยอมรับ แสดงออกมากขึ้น และมากขึ้นเพื่อผลที่จะได้รับการยอมรับ ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังจึงพรั่งพรูกันออกมา และซ่อนความรักใคร่ไว้ด้านใน เมื่อมีการรวมหมู่พวกขึ้น การเปลียนถ้อยคำแห่งความเกลียดชังอาจพัฒนาต่อไปเป็นถ้อยคำแห่งการทำลาย
ผมเห็นการชักจูงให้ทำลาย ทำลายด้วยความรักใคร่ ปรารถนาให้สิ่งไม่ปารถนาปราศนาการไป ไปจากความรักใคร่แห่งตน การทำลายสิ่งไม่ปรารถนาอย่างมีความชอบธรรมในความดีแห่งตน แต่ไม่ใช่ความชอบธรรมแห่งธรรม เพราะธรรมไม่เคยทำลายสิ่งใด ธรรมตั้งอยู่อย่างอดทน อดทนและเชื่อในผลแห่งกรรมไม่ได้เชื่อในความพยายามใช้ความดีของคน ความดีที่ทำร้ายทำลายสิ่งแตกต่าง
การดั่งนี้ พระพุทธองค์ ทรงกล่าวไว้ด้วยเห็นความเป็นไปในโอวาทปาฏิโมกข์ ว่า

๏ สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ
๏ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
การบำเพ็ญแต่ความดี
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๏ อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
๏ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
ที่นั่งนอนอันสงัด
ความเพียรในอธิจิต
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอให้พิจารณาในถ้อยความที่ว่า อนูปวาโท อนูปฆาโต การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย สิ่งเหล่านี้ในช่วงที่่ผ่านมา ผมเห็นและสิ้นหวังอย่างมากในความเป็นชาวพุทธของคนไทย
อนูปวาโท คือ การไม่ใช้ Hate Speech ซึ่งนำไปสู่ Crime Speech และจะนำไปสู่อาชญากรรมและการทำร้าย (Crime & Violence) ในที่สุด
เราไม่อาจยอมรับการกล่าวร้ายและการทำร้ายในฐานะของผู้สร้างได้ สิ่งนี้เป็นการทำลายอย่างแท้จริง
เราเห็นการคุกคามเพื่อให้คนเห็นคล้อยตาม เราเห็นคนที่ตัดสินคนที่ไม่เห็นด้วยว่าไม่ใช่คน เราเห็นว่ากลุ่มคนสร้างความชอบธรรม ด้วยความเชื่อมั่นในความดี คุณธรรมแห่งตน และสร้างมากขึ้นเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม การพูดชักจูงเหมือนสะกดจิต และให้ตั้งมั่นในความดี คุณธรรมแห่งตนที่ยึดถือไว้ไม่ใช่ความดีที่เป็นของทุกคน มีตรรกะที่สนับสนุนว่าคนอื่นเข้าไม่ถึงความดีที่ตนยึดถือ คนอื่นทึ่เห็นต่างจึงไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะมีความดี ให้น่าสงสัยในความดีเยี่ยงนี้นัก ด้วยว่าเป็นความดีที่ไม่เห็นคนมีคุณค่าทัดเทียมกัน
สิ่งที่มนุษย์พยายามเข้าถึง ความจริง ความงาม ความดี นั้น มีผู้อธิบายไว้ว่า ความจริงนั้นปวดร้าวรันทดเป็นทุกข์ ทุกข์ก็คือความจริง ความทุกข์จะบรรเทาด้วยความงาม เมื่อความงามปรากฏตนความทุกข์ที่เป็นความจริงจะถูกกลบไว้ และนั่นแหละทำให้ความดีได้เผยตัวในใจมนุษย์ มนุษย์จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ และทำให้โลกนี้น่าอยู่ ไม่มีการกำจัด ไม่มีการทำร้าย มีแต่ความดีที่เป็นประโยชน์ต่อสรรพสิ่ง พื้นดิน แผ่นฟ้า มหานที และไฟปรารถนาในสรรพธาตุรู้ ความดีเยี่ยงนี้เป็นความดีของทุกคน ไม่ว่าจะศึกษามาแขนงใด เพียงแต่มีความเป็นคน สัมผัสได้กับความดีเยี่ยงนี้เอง

ในถ้อยคำแห่งความเกลียดชังนั้นผมเห็นถ้อยความแห่งรักใคร่มีที่ทางของมันอยู่ มันอยู่ด้วยกันรอเวลาให้ผู้ใช้ถ้อยคำแห่งความเกลียดชังได้พบเห็น เห็นความรักใคร่ที่แฝงอยู่ เมื่อความเกลียดชังจากไป ความเมตตากรุณาเผยตนให้เห็นความรักใคร่นั้น
ถ้อยความแห่งรักใคร่จะปรากฏแก่ทุกคนได้ เพียงเพราะเราดำรงตนอยู่ที่นั่นอย่างอดทนเพียงพอ เหมือนรอให้เมล็ดพันธ์พืชได้งอกงาม ต้นสักใหญ่หลายคนโอบเดิบโตจากเมล็ดพันธ์ที่ไม่ได้โตกว่านิ้วหัวแม่มือเลย เพียงแต่ต้องการเวลา และความอดทน นั่นหมายความว่า มนุษย์ต้องมีเมตตาที่ประมาณมิได้เพื่อให้ เมล็ดพันธุ์นัืนเดิบโต
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กรรมะสานใจ : อุปถัมป์ (5) จิระชัย ศรีสมบัติ

 
จิระชัย อ้วน ริมเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี


ผมรู้จักกับอ้วน เมื่อตอนไปเรียนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี ๒๕๓๕ อ้วนได้ขับรถไปและผมติดรถอ้วนไป
ปี ๒๕๓๘ ผมได้อาศัยอยู่บ้านอ้วนเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ปี ๒๕๔๐ ผมได้รับอนุเคราะห์บ้านพักจากอ้วนในเมืองเชียงใหม่เพื่อไปทำการค้นคว้าอิสระและเรียนจนจบได้
ปี ๒๕๔๙ ผมได้รับการเสนอจากอ้วนให้เป็นผู้บรรยาย เรื่องการจัดการความรู้

อ้วนยังเป็นอาจารย์ผมในเรื่องการใช้ Excel และอีกหลายๆ เรื่อง
อ้วนให้ความอุปถัมป์ผมมาโดยตลอด คิดถึงและไม่ลืมบุญคุณครับ
 

เมื่อได้พบ คบเรียน และร่วมงาน
จากวันวาน ยากไร้ ได้พึ่งเพื่อน
ให้ที่อยู่ ที่พัก ให้ยานเคลื่อน
ยังติดเตือน ให้โอกาส ได้ทำงาน
 

ให้ความคิด ให้มิตร ให้ความรู้
ได้เป็นผู้ บรรยาย อย่างอาจหาญ
หลักสูตรคุณ อำนวย ได้ประสาน
และทำการ อบรม ไปด้วยกัน
 

คนมุ่งมั่น ตั้งใจ ให้ฝึกฝน
จนเป็นคน มั่นใจ ในมาดมั่น
เคร่งขรึมคล้าย เคร่งเครียด ความคู่ครัน
เมื่อคบนั้น พลันรัก สมัครใจ
 

อันคนเรา ก้าวไป ในวิถี
มีความดี สรรค์สร้าง อย่างสดใส
เมื่อได้เลือก ตั้งหน้า แล้วมุ่งไป
หนทางใหม่ ให้ใจ ได้ทนง
 

คือคนที่ มีจุด ที่หมายมั่น
คือเติมฝัน ฝากไว้ ไม่ใหลหลง
คือจิระชัย คนนี้ ที่มั่นคง
คือคนตรง ตามที่ คนนี้เป็น(เอย)


ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง
 

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กรรมะสานใจ : ทำคิด (4) พินิจ นิลกัณหะ



ผ่านงานทำ ทุกเรื่อง ด้วยใจตน
คิดและค้น บนทาง ที่สัมผัส
อุปกรณ์ วงจร เครื่องมือวัด
เรียนรู้จัด สร้างเสริม เติมคนงาม
คือปราชญ์ผู้ นำสู่ ลู่ทางทำ
เมื่อลูบคลำ คลี่คลาย ให้หายถาม
ทำแล้วคิด จิตจด จ่อทุกยาม
ความรู้มือ หนึ่งสอง ปรากฎผลัน
ครั้งผีเสื้อ เมื่อสยาย ปีกกระพือ
คนยึดถือ อธิบาย ขยายฝัน
สอนผู้คน สอนครู ไปด้วยกัน
แข็งอ่อนผัน "กระทิง" วิ่งเข้าชน
คุณภาพ และระบบ ครบเครื่องหมด
เข้าใจกฎ ตรวจตรา หาเหตุผล
คิดทำสอน สอบเสร็จ คือตัวตน
ทำจน "อะรูมิไร้" ไปตามกรรม
พยายาม กระทำไป จึงได้ผล
เหตุที่ดี จึงดล ผลดีล้ำ
คือแบบอย่าง อยู่เป็น เห็นจดจำ
ผู้ทำคิด "พินิจ นิลกัณหะ"เอย


กรรมะสานใจ : คู่ให้ (3) วิบูลย์ ไพโรจน์ฤทธิ์


สร้างตัวตน บนทาง เปื้อนฝุ่นดำ
ยังจดจำ ผ้าใบ คลุมถ่านหิน
ทำเครื่องวัด การไหล สายพานยิน
ซอฟต์แวร์สิ้น สรรหา มาใช้งาน
ชอบและใช้ ไอที ที่ค้นคว้า
จึงนำพา มาพบ บรรจบสาน
ได้มาทำ แทนที่ ในการงาน
และจึงผ่าน เวลา มาร่วมกัน
บนหนทาง ผู้ให้ แนวคิดคู่
บรรยายดู สอดรับ สร้างสิ่งฝัน
ให้ความรู้ รับให้ ไปนานวัน
สาระพัน เพื่อนทำ นำกันไป
สรรพสิ่ง ทุ่มทำ สำเร็จล่วง
งานทั้งปวง สรรค์คน ทำของใหม่
ทำเป็นทีม ทุ่มเท ทั้งกายใจ
โอกาสให้ ได้รู้ เรื่องเกี้อกูล
ระยะกาย สองเรา เหมือนไกลห่าง
ระยะใจ ของเรา เหลือเพียงศูนย์
ทุกครานึก พลังใจ ให้เพิ่มพูน
คือ"วิบูลย์ ไพโรจน์ฤทธิ์" จิตงดงาม


วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กรรมะสานใจ :โอกาส (2) ศากุน ปิติไกรศร


ผมพบกับคุณศากุน ตั้งแต่เมื่อศูนย์เชี่ยวชาญสายงานผลิตไฟฟ้าถูกยุบ และผมได้มีโอกาสร่วมงานกับคุณพี่สามารถ สุทธางคกูล ต่อมาเมื่อมีการอบรมการจัดการความรู้จึงได้รับโอกาสมากมายจากเธอ ผมได้เป็นผู้ร่วมคนหนึ่งในทีมงานเพื่อผลักดันให้มีการพัฒนา กฟผ. สายงานผลิตไฟฟ้าไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ผมได้เรียนรู้มากมายและได้รับประสบการณ์ดีๆ ระลึกถึงเธอเสมอ แม้เกษียณอายุแล้วเธอก็ยังให้โอกาสผมเสมอมา ขอขอบคุณด้วยจิตนอบน้อม


"อิ่ง สายสาม" งามงด และสดชื่น  
เธอหยัดยืน ยิ่งใหญ่ ด้วยใจสู้
นำพาคน งานองค์การ ก้าวไปสู่  
การเรียนรู้ แพร่ขยาย ในสายงาน
ผ่านแผนหนึ่ง แผนสอง ที่ยากยิ่ง  
แต่ทุกสิ่ง ผ่านไป ได้ประสาน
ความรู้นอก คนใน ใช้ดวงมาน  
ถึงเหตุการณ์ ผันผวน ไม่รวนเร
ให้ความรู้ แก่คน ทั้งสายงาน  
กระบวนการ วิทยากร ผสมผเส
แล้วความรู้ ใหลหลั่ง ประดังประเด  
ด้วยทุ่มเท กายใจ ให้กับให้
ยามยืนนำ หน้าห้อง งามสง่า  
มีวาจา นุ่มนวล กระจ่างใส
เรื่องว่ายาก ยามเสนอ ชัดเจนใจ  
สุขุมใน ท่าทาง นางพญา
บนเส้นทาง ยิ้มไว้ ใฝ่ผจญ  
เธอคือคน นำคน ไปข้างหน้า
ท้อไม่ได้ ทำไป ในทุกครา  
คือคุณค่า คนจริง "อิ่ง สายสาม"

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ถักทอเครือข่าย
เครือข่าย(CFT / CoPs) ที่ สายงานผลิตไฟฟ้าและสายงานธุรกิจ ได้จัดตั้งและสนับสนุนให้มีขึ้นนั้น มีที่มาต่างกัน สายผลิตจัดตั้งเครือข่ายในลักษณะคณะทำงานวิชาชีพที่มีการมอบหมายโดยกำหนดบุคคล ในขณะที่ สายงานธุรกิจ ได้สนับสนุนให้มีการรวมตัวกันอย่างไม่ได้บังคับโดยตรง แม้จุดกำเหนิดต่างกันแต่ในทางปฏิบัติ เครือข่ายของทั้งสองเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง กำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันสมัยเมื่อยังเป็นหน่วยงานเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2550 ที่มีการขับเคลื่อนกัน
ในอดีตความเข้าใจเรื่องเครือข่ายคนทำงานนี้ยังมีความคลาดเคลื่อนและได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ได้ใส่ใจจากนัก เพียงแต่ให้ทำงานไปตามหน้าที่ เมื่อผ่านมาเป็นระยะเวลาหนึ่งการเริ่มที่ช้า ความไร้พลังแต่ก็ยังมีความพยายามขับเคลื่อนไป พลังต่างๆของเครือข่ายเริ่มมากขึ้น เนื้อหา(Domain)ได้รับการใส่ใจ ชุมชน(Community)มีผู้เข้าร่วมมากขึ้นทั้ง ผู้สนับสนุนหลัก (Core Team)และผู้ปฏิบัติงาน(Practitioners)ตัวจริง  การหล่อเลี้ยง(Cultivating) โดยผู้บริหาร(Leader)ได้ให้ความสนใจและใช้เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์มากขึ้นโดยให้โจทย์และติดตามรับทราบ เข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอ ชุมชนมีพื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนกันทั้งพื้นที่จริงและพื้นที่เสมือนสำหรับพื้นที่จริงมีหลายระดับทั้งภายในหน่วยงาน และระดับสายงาน ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่เก็บความรู้อย่างเป็นระบบเข้าถึงสืบค้นได้ง่าย
การเติบโตของเครือข่ายนี้จะไม่เป็นเส้นตรง จะเพิ่มมากขึ้นในลักษณะ Exponential ที่จะเพิ่มมากเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
การถักทอเครือข่ายอย่างจงใจจะทำให้เตรือข่ายมีชีวิตชีวา การเห็นความสำคัญของเครือข่ายและผลงานของเครือข่าย นำมาซึ่งความคาดหวังของสายงานที่ต้องการให้เครือข่ายได้ใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมอันเป็นผลจากความรู้ได้ถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติงานผนวกกับ เครือข่ายมีสมาชิกที่มีจิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) พยายามเป็นเลิศในตน(Personal Mastery)
...ยังมีต่อ...

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ก้าวย่างบนทางรู้



ได้รับที่จะนำพาการสัมมนาของหน่วยงานหนึ่งไปสู่การเชื่อมโยงคนในหน่วยงานที่อยู่กันคนละที่ทำงานอย่างเดียวกันในแต่ละกลุ่มแต่มีหลากหลายกลุ่ม ประมาณว่าสิบกลุ่มหลักจำนวนคนประมาณ 130 คน เป็นคนที่จะเป็นหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดความรู้ในองค์กร
สร้างสรรค์ร่วมกันเกิดเป็นการสัมมนาสองวัน
เราจะเริ่มด้วยการให้คนพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมรู้ตัวทั่วพร้อม อันนี้ได้มือโปร อ.สำเณาว์ จุมพุก(เนาว์ คนเหนือ)เมื่อพร้อมการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น
ถึงเวลาถักทอเครือข่าย โยงใยอดีต จุดประสงค์คือให้คณะผู้ขับเคลื่อนแบ่งปันปัญหาและอุปสรรคให้แก่กันและกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากนั้นเราจะต่อด้วยการนำเสนอว่าองค์กรคาดหวังสิ่งใดจากผู้ขับเคลื่อนเหล่านั้น ด้วยกิจกรรมความคาดหวัง พลังจากใจ จุดประสงค์คือให้ CFT/CoPs ทราบว่าองค์กรอยากเห็นเขาเป็นอย่างไร เมื่อทราบบทบาท ทิศทางและเป้าหมายแล้ว คำถามต่อมาคือ CFT/CoPs  จะอยู่อย่างยั่งยืนได้อย่างไร ในบทบาท ทิศทางและเป้าหมายที่เขาต้องไป
หลังจากนั้นเขาจะเชื่อมโยงเป้าหมายขององค์กรมาเป็นเป้าหมายของเขาได้อย่างไร จบกิจกรรมนี้เขาจะนำเสนอเป้าหมายที่เข้าใจต่อกลุ่มชน หลังจากนั้นขาจะดูว่าเขาจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร เส้นทางที่เขาจะไปเป็นอย่างไร จบนำเสนอเส้นทางที่ก้าวย่าง พร้อมด้วยคำสัญญาจบแล้ว นำไปทำต่อได้อย่างไร

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระลึกถึงครู ผ่าน VDO ของ Seven Eleven และ MV ดีๆ

รวม VDO ระลึกพระคุณครู
พระคุณครูไม่มีวันเกษียณ

ครูปั้นคน 1

ครูผู้ขัดเกลา

ครูผู้สร้างคน

ครูปั้นคน 2

MV เพลงรางวัลของครู

ระลึกถึงพระคุณครูทุกคนของผม

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรรมะสานใจ : มิตรภาพ (1) สำเณาว์ จุมพุก


อาจารย์สำเณาว์ จุมพุก ใน หลักสูตรการจัดการความรู้ กฟผ.

คนนี้แหละ อาจารย์ "เนาว์ คนเหนือ"
จิตเอื้อเฟื้อ ฝากสุข ทุกท่วงท่า
แฝงความรู้ กายจิต คิดทำมา
เพื่อพร้อมพา เพื่อนสู่ เรียนรู้กัน

ที่ท้ายห้อง หูตา พาสังเกตุ
ให้มีเหตุ ต่อเชื่่อม ชักจูงฝัน
ครุ่นคิดใคร่ ครวญกิจ สารพัน
อารมณ์นั้น ลื่นใหล ใคร่เรียนรู้
หากนั่งนิ่ง จารย์เนาว์ เข้าชวนเล่น
ใคร่หัวเป็น ท่วงท่า ติดตาหู
ขยับกาย ขยายจิต เขยื้อนดู
ตบมือคู่ ก้าวเดิน เพลินวิ่งวน
มี"ปลาเก๋า" "ช้างน้อย""โป้งไอ้หยา"
มี"กิ้งก่า กายสิทธิ์" คิดฝึกฝน
มี"หนึ่งสอง สามสี่" ทำเวียนวน
เราทุกคน "อยู่ที่นี่ ก็มีสุข"
ถึงอยู่ไกล ฝากใจ ไปให้ด้วย
ยังอยากช่วย ชี้ชวน สรวลสนุก
ยังคิดถึง ตีหนึ่งสอง ไม่ยอมลุก
นังปลอบปลุก กำลังใจ ไปด้วยกัน
สมควรแล้ว กับคำ ที่ร่ำลือ
คนนับถือ ความสามารถ ผงาดสรรค์
ให้ร่าเริง เรียกพลัง ดังใจพลัน
ทุกคืนวัน เยี่ยมล้ำ 'จารย์ สำเณาว์
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง
4 ก.ค. 56

ความคิดหกด้าน

หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน
ฉบับแปล โดย นุชจรีย์ ชลคุป สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ตุลาคม 2536 จำนวน 198 หน้า
เก็บความ โดย ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

มองปัญหา มองชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบใหม่ (ตอนนี้คงเก่าและเราไม่ค่อยได้เห็นคนใช้มากนัก-ผู้เก็บความ)
หนังสือมีทั้งสิ้น 47 บท ไม่รวมคำนำและบทสรุป
บทที่ 1-7 เป็นการเกริ่นนำ กล่าวถึงการคิด สมองและภาพรวมของการสวมหมวก 6 สีในการคิด
บทที่  8-13 ว่าด้วยหมวกสีขาว (นัยตาตรวจจับ-ผู้เก็บความ) ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล
บทที่ 14-20 ว่าด้วยหมวกสีแดง (สายฟ้าผ่าตรง-ผู้เก็บความ) อารมณ์และความรู้สึก
บทที่ 21-26 ว่าด้วยหมวกสีดำ (พายุดำมืด-ผู้เก็บความ) มีอะไรผิดพลาดหรือ
บทที่ 27-33 ว่าด้วยหมวกสีเหลือง (อาทิตย์เจิดจ้า-ผู้เก็บความ) การคะเนในทางบวก
บทที่ 34-41 ว่าด้วยหมวกสีเขียว (พฤกษาก่อเกิด-ผู้เก็บความ) การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ
บทที่ 42-47 ว่าด้วยหมวกสีฟ้า (ราชาสั่งการ-ผู้เก็บความ) ควบคุมการคิด


บทที่ 1-7 เกริ่นนำ (หน้า 1-30)
นึกถึงรูปปั้นนักคิด การคิดต้องไม่เคร่งเครียดจริงจัง การคิดควรกระตือรือล้นและมีชีวิตชีวาด้วยการสวมบทบาทนักคิดหกแบบนี้ หมวกคือบทบาทของคนแต่ละคนหมวกคิดก็เช่นกัน และใช้ในการคิดแบบใคร่ครวญ (Deliberate Thinking) ไม่ใช่คิดแบบรับมือ(Copying Thinking) การสวมหมวกเป็นการดึงดูดจุดสนใจ ในการเลือกที่จะสวมหมวกสีใด สีแต่ละสีไม่เกี่ยวข้องกันและ เมื่อระบายสีหนึ่งลงไปแล้วสีอื่นจะทาทับไปบนอีกสีหนึ่งจนกว่าจะครบ เมื่อมีความตั้งใจที่จะคิดแล้วต้องมีการปฏิบัติในการคิดนั้น การคิดพัฒนาได้ การตั้งใจ การฟัง และการชลอการตัดสินใจ ทำให้พัฒนาการคิดได้ และหมวกหกใบช่วยให้เป็นรูปธรรมในการคิดได้ การสวมหมวกหรือบทบาทนั้นเป็นการยุติตัวตนของเรา เหมือนเล่นละคร เมื่อสวมบทตัวตลกจงตลก ตัวตนได้รับการปกป้อง จงเล่นบทบาทนั้นๆ ให้ดีที่สุด แต่ละหมวกหรือแต่ละบทบาทมีข้อเด่นของแต่ละสีอยู่
ระบบของเหลวในสมอง และเส้นเลือดเกี่ยวพันกับความคิดของเรา สมองของเรามีกลไกเครือข่ายภายในที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เอง การคิดในแต่ละภาวะอารมณ์มีผลต่อระบบของเหลวในสมองด้วย หมวกหกใบนี้จะกระตุ้นสมดุุลของเหลว(เคมี)ในสมองไม่ให้ตกในภาวะใดภาวะหนึ่ง(เช่น ห่อเหี่ยว ดีใจมาก-ผู้เก็บความ)
คุณค่า 5 ประการ การสวมหมวกช่วยปกป้องตัวตนทำให้แสดงออกในบทบาทนั้นได้อย่างเด็มที่ การเน้นความสนใจในแต่ละด้านทำให้เราคิดอย่างใคร่ครวญไม่คิดแบบรับมือ สะดวกในการขอให้ใครต่อใครปรับเปลี่ยนท่าทีในการแสดงออก สร้างสมดุลของเหลว(สารเคมี)ในสมอง และ ช่วยสร้างกฏเกณฑ์ในการคิดหลีกเลี่ยงการขัดแย้งในการคิดร่วมกัน

สีของหมวก ขาว ธรรมชาติ ความจริงและภาพที่เป็นภาววิสัย (ทัศนะคติผู้เห็นเป็นกลาง-ผู้เก็บความ) แดง ความโกรธ เดือดดาลและอารมณ์ ทัศนะคติเต็มไปด้วยอารมณ์ (ทัศนะคติผู้ถูกกระทำ-ผู้เก็บความ)ดำ มืดมนและการปฏิเสธ ทัศนะคติเชิงลบ (ทัศนะคติผู้ขัดขวางมองโลกแง่ร้าย-ผู้เก็บความ)เหลือง สว่างไสว สร้างสรรค์ ความหวัง ทัศนะคติเชิงบวก(ทัศนะคติผู้รื่นรมย์-ผู้เก็บความ) เขียว ความอุดมสมบูรณ์ความคิดริเริ่มความคิดใหม่ (ทัศนะคติผู้อยู่นอกกรอบ นอกเหตุเหนือผล -ผู้เก็บความ) ฟ้า ควบคุมและจัดระบบกระบวนคิด หมายถึงนำหมวกทุกใบมาคิดด้วย (ทัศนะคติผู้ควบคุมสั่งการ-ผู้เก็บความ)
ความเป็นคู่ ขาวกับแดง ดำกับเหลือง เขียวกับฟ้า สีสามารถใช้แทนความคิดต่างได้และทำให้ท่าที (บทบาทที่ไม่พึงประสงค์-ผู้เก็บความ)อ่อนลงในการสนทนากัน

บที่ 8-13 หมวกสีขาว ข้อเท็จจริงและตัวเลขข้อมูล (หน้า 31-53)
ข้อเท็จจริงต้องปราศจากความเห็น การประเมินและตีความ ต้องมีจำนวนเหมาะสม ข้อเท็จจริงมีสองระดับ ระดับที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ระดับที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ(มาจากความเชื่อ) ข้อเท็จจริงเป็นเพียงหลักฐานที่ไม่เจือปนความคิดเห็นหรือมุ่งสนับสนุนความคิดเห็น เสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มีข้อสรุปในใจ ฟังมากในการเสนอข้อเท็จจริงแบบชาวญี่ปุ่น ข้อเท็จจริงแมื่อมันมากพอจะก่อตัวเป็นแผนที่ที่มีทางเดินของมันเอง วิสัยของความจริงมีหลายระดับ เช่น เป็นความจริงเสมอ มักจะจริง โดยทั่วไปแล้วจริง จริงในบางโอกาส เคยเป็นความจริง ไม่เคยเป็นความจริง ตรงกันข้ามกับความจริง การนำมาใช้ขึ้นอยู่กับขอบเขตของความจริงที่ต้องการ ทั้งนี้ไม่รวมเอาสิ่งต่างๆ ที่มีคุุณค่า เช่น ลางสังหรณ์ การหยั่งรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความประทับใจ ความคิดเห็น หมวกสีขาวให้เฉพาะข้อเท็จจริง ตัวเลข การได้มาขึ้นกับการตั้งคำถาม  ภายใต้วินัย ปราศจากอคติ

บทที่ 14-20 หมวกสีแดง อารมณ์และความรู้สึก (หน้า 54-76)
เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์และญาณหยั่งรู้ ไม่ต้องพิสูจน์หรือให้เหตุผล ตรงข้ามกับสีขาว อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของการคิด เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เกิดได้จากแรงกระตุ้น การเผชิญหน้าและปลดปล่อยอารมณ์ทำให้แผนที่ความคิดสมบูรณ์ขึ้น รู้ว่ามีอารมณ์อะไรมาเกี่ยวข้อง ญาณหยั่งรู้ 2 ประการ รู้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิม รู้สถานการณ์โดยฉับพลัน อาจถูกหรือผิด มีแนวโนม้เป็นจริงหรือไม่เป็น เป็นการเปิดโอกาสให้ปรากฎเห็นโดยทั่วกัน การแสดงความรู้สึกภายใต้หมวกสีแดงอาจทำได้เมื่อมีความรู้สึกโดยขอเสนอภายใต้หมวกสีแดง เราไม่อาจลบล้างความรู้สึกนี้ได้แต่ปลดปล่อยได้ เพื่อจะได้เห็นมันในความคิด อย่าพยายามหาเหตุผลมาอธิบายมัน อย่าสร้างอารมณ์จงให้มันปรากฎเอง มันคือสิ่งธรรมดาสามัญ กลัว หวาดระแวง มีการตัดสินอันซับซ้อนอยู่ในอารมณ์เช่น ญาณหยั่งรู้ ลางสังหรณ์ สุนทรียอารมณ์ เป็นต้น มันมีทั้งแง่ลบและแง่บวกในตัวเอง

บทที่ 21-26 หมวกสีดำ มีอะไรผิดพลาดหรือ (หน้า 77-103)
ทัศนะในแง่ลบที่มีเหตุผลสนับสนุน เป็นตรรกะ กล้าแข็ง เย็นชา มืดมิด ไม่จำเป็นต้องยุติธรรม แต่มีเหตุผลที่บ่งว่าวิธีการนี้ทำไมจึงใช้ไม่ได้ เป็นความคิดวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ทะเลาะ โต้เถียง มองในแง่ของหลักฐานสนับสนุนและผลที่เกิดต่อจากการการะทำหนึ่งๆ ให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ โดยรอบ ข้อเท็จจริงต่างๆ ถูกท้าทายโดย การตั้งคำถามถึงความล้มเหลว อันตราย ความมีไม่พอ ปัญหาของศักยภาพในการทำ  ซึ่งเราต้องยอมรับมัน ตระหนักถึง เสนอทัศนะแก้ไข มองสีดำด้วยสีดำเช่นกันในแง่ของตรรกะ หรือไม่ยอมรับมันด้วยดรรกะสีดำ ทั้งนี้ไม่มีการตำหนิ โต้เถียง หรืออคติ ความรู้สึกมาเจือปนซึ่งเป็นหน้าที่ของหมวกสีแดงเท่านั้น เป็นการคาดการณ์ไปในอนาคต มุ่งหาข้อบกพร่อง ในกรณีของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ควรใช้หลังหมวกสีเหลือง เพื่อปิดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

บทที่ 27-33 หมวกสีเหลือง การคะเนในทางบวก (หน้า 104-127)
สดใส สว่างไสว มองโลกในแง่ดี ตรงกันข้ามกับสีดำ สนใจในแง่บวก มุ่งประโยชน์ คิดสร้างสรรค์(constructive thinking : ความคิดที่ไม่ทำร้ายใคร)ทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เป็นความกระหายใคร่รู้ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ เห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ในสิ่งรอบด้าน ขอบเขตของความคิดเชิงบวกนั้นมีตั้้งแต่สุดขั้วเป็นความใฝ่ฝัน ถึงความน่าเชื่อถือเป็นไปได้ หากน่าเชื่อถือมากจะมีความก้าวหน้าในการคิดและการเปลี่ยนแปลงน้อย หากสุดขั้วจะมีความก้าวหน้ามากกว่า ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนหากไม่มีเป็น สีแดง ในแง่ความรู้สึกดีๆเท่านั้น ดังน้้นสีเหลืองนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุนอย่างเต็มที่ มันทำหน้าที่ จุดประกาย ให้ข้อเสนอและประเมินทางบวก หรืออาจเป็นการต่อยอดข้อเสนอ และนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม เป็นการคาดการณ์เชิงบวกบนสถานการณ์ที่ต้องการให้เกิดเกี่ยวพันกับภาพฝัน(Vision) มุ่งสร้าง ประยุกต์ หาโอกาส แก้ไขข้อบกพร่อง

บทที่ 34-41 หมวกสีเขียว การริเริ่มและการคิดนอกกรอบ (หน้า 128-161)
ความสมบูรณ์การเติบโต และพืชพันธุ์ที่งอกออกจากเมล็ดเล็กๆ สิ่งใหม่ หนทางใหม่แตกต่างจากเดิม เป็นการคิดริเริ่ม(Creative Thinking) ที่เกิดขึ้นอย่างจงใจด้วยบทบาท และสัญญาณจากหมวกสีเขียวทำให้มีเวลาในการคิด การคิดนอกกรอบ(Lateral Thinking) จากมโนคติหรือการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยอารมณ์ขันและการจัดองค์ประกอบของข้อมูลด้วยตนเอง เคลื่อนไปข้างหน้าไม่เทียบเคียงไม่ตัดสินไม่หยุดนิ่งอาศัยแรงท้าทายก้าวกระโดดไป ไม่มีการโจมตีกันในการคิดไปข้างหน้าอย่างไร้กฏเกณฑ์ แสวงหาไปเรื่อยๆ ไม่พอใจคำตอบแรก แต่บันทึกไว้ สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่หยุดที่จะริเริ่มต่อไป ความคิดริเริ่มเป็นทักษะฝึกได้ ทางเลือกที่ได้ควรได้รับการพิจารณาทั้งหมดอย่าทิ้งเพราะคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสุถานการนั้นอาจถูกใช้แต่ทางเลือกอื่นอาจมีประโยชน์ได้หากเอามาพัฒนาต่อไป

บทที่ 42-47 หมวกสีฟ้า ควบคุมการคิด (หน้า 162-187)
การควบคุมสรรพสิ่ง รวมถึงการปราศจากอคติ ความเยือกเย็น และการควบคุมตนเอง (แผงควบคุม วาทยากร) เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการคิดทั้งหมด จะใช้หมวกใดคิด จัดระบบความคิดแนวอื่นๆ ใช้เครื่องมือการคิดอื่นๆ เข้ามาช่วย เน้นเฉพาะจุด จุดเน้นที่กว้างจะประกอบด้วยจุดเน้นที่แคบมากมาย ตั้งคำถามให้ถูก กำหนดปัญหา กำหนดภารกิจของการคิด ออกแบบการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ลื่นใหลในการคิด จากหมวกหนึ่งสู่อีกหมวกหนึ่ง (เหมือนรถขับเคลื่อนด้วยเกียร์อัตโนมัติ) โดยระลึกว่า การคิดส่วนใหญ่แล้วเป็นการผสานของหมวกขาวและหมวกดำ โดยมีอารมณ์ของหมวกแดงอยู่ข้างหลัง ทั้งนี้การสังเกตและมองภาพรวมกระบวนการคิดที่เคลื่อนไป เห็นผลสรุปเป็นระยะจดบันทึกสิ่งที่ดำเนินอยู่และเกิดขึ้น นำบทบาทนี้มาใช้ขัดจังหวะของหมวกสีอื่นๆ ได้
สรุป วิธีการหมวกคิด 6 ใบมีจุดประสงค์ทำให้การคิดง่าย โดยแยกแยะ ข้อมูล ความจริง อารมณ์ ความหวัง การสร้างสรรค์ ออกจากกัน ไม่ต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนอารมณ์ เป็นตน อีกประการคือเพื่อให้สับเปลี่ยนวิธีคิดออกจากมุมที่ตนยึดถือ ทั้งนี้ทุกคนที่ร่วมกันต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือ

ประสพการณ์การนำไปใช้
เคยนำแนวคิดนี้ไปทดลองใช้ในกิจกรรมที่ตัองมีการคิดร่วมกันของกลุ่มคน ประมาณ 8-10 คน ในการอบรม สามครั้ง

ครั้่งแรก ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วขึ้น รูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร ผลการคิดยังไม่เป็นไปตามวิธีทั้งหมดและไม่ได้นำฟ้ามาควบคุมการคิดเพียงแต่ใช้ฟ้ามาสรุป คนที่คิดสรุปแล้วก็กลับไปได้ผลเหมือนไม่ได้ใช้ ตกร่องความคิดเดิม
นำเสนอครั้งแรกและคร้้งที่ 2 จากของท่านเภสัชกรประชาสรรค์ ด้วยความขอบคุณ

ครั้งที่สอง ให้โจทย์และกำหนดเวลาในการคิดร่วมกัน ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยคิดไปทีละใบ เริ่มจาก ขาว ดำ แดง เหลือง เขียวและฟ้า ก่อนทำกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหมวก 6 ใบเป็นเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง โดยให้ตัวอย่างให้ทดลองคิดคนเดียวก่อน  แล้วขึ้นรูปให้ดูว่าแต่ละใบคิดอย่างไร และให้ใช้หมวกสีฟ้ามาสรุปเหมือนเดิมไม่ได้ใช้ควบคุมความคิด ผลที่ได้ ก็ยังคงเหมือนเดิมดีกว่าตรงที่ชัดเจนในบางหมวก และก็มาคิดปรับในครั้งที่สาม

นำเสนอในครั้งที่สาม ของหมอวิจารณ์ พานิช ขอขอบพระคุณ
ครั้งที่สาม ยังเน้นในความแยกส่วน แยกความคิดหมวก 6 ใบแต่คราวนี้ในการบรรยาย หมวก 6 ใบ ได้ให้ทำความคิดในแต่ละด้านของแต่ละคนในเรื่องที่จะทำ สร้างการสัมผัสการคิดแบบแต่ละหมวกในงานที่ทำโดยแต่ละคน ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วไม่ต่อเนื่องกันเว้นระยะหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าสู่การคิดร่วมกันได้ผลดีกว่าเดิมแต่ยังใช้หมวกสีฟ้าเพียงแค่สรุปเท่านั้น

(เนื่องจากรายละเอียดมีมากเกี่ยวกับ ผู้อบรม บรรยากาศ ข้อจำกัดของวิทยากร และความชำนาญในการจัดกิจกรรม จึงขอเสนอเพียงเท่านี้)

Web อื่นที่นำเสนอ
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://portal.in.th/pjrattanapan-oab/pages/262/
เทคนิคการสอนแบบหมวก6ใบ http://www.gotoknow.org/posts/297126
หมวก 6 ใบ วิธีช่วยคิดอย่าสร้างสรรค์ http://siolence.exteen.com/20080401/entry

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นอนอย่างเป็นสุุข

พระอภัยมณี...     บรมครู สุนทรภู่
“...
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป
ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์

ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช
จตุบาทกลางป่าพนาสิน
แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา

ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ
อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์
จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

แล้วหยิบปี่ที่ท่านอาจารย์ให้
เข้าพิงพฤกษาไทรดังใจหวัง  
พระเป่าเปิดนิ้วเอกวิเวกดัง
สำเนียงวังเวงแว่วแจ้วจับใจ
... ”

ถึงมิได้ ยินเสียง สำเนียงปี่
เอาเสียงที่ พอมี พอหาได้
ในทุกที่ มีอยู่ หาดูไป
ฟังพอได้ หลับลง ตรงนี้เอย

เลือกฟังเอานะครับ
Calm Music Peaceful Songs: Most Relaxing Music, New Age for Meditation,Yoga,Massage & Deep Sleepโดย Buddha Tribe

Sleep Music: Sleeping Music and Relaxing Music for Sleeping, Relax, Lullabies, Baby Musicโดย meditationrelaxclub

44:59 Sleep Music Delta Waves: Relaxing Music to Help you Sleep, Deep Sleep, Inner Peaceโดย meditationrelaxclub  

 RELAX MUSIC MEDITATION - RELAXAMENTO MUSIC MEDITAÇÃOโดย Pedro J. Pérez  

Sleep Music Delta Waves: Relaxing Music to Help you Sleep, Deep Sleep, Inner Peaceโดย meditationrelaxclub

ฟังกันเองนะครับ